เทคโนโลยี “เอไอ” ปัญญาประดิษฐ์ที่มนุษย์ผู้ประดิษฐ์เริ่มจะควบคุมไม่ได้

ข้อเขียนนี้เตือนสติให้เราต้องเร่งทบทวนเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial intelligence (AI) อยู่สองเรื่องคือ 1. ทำอย่างไรจะควบคุมไม่ให้ AI ฉลาดกว่ามนุษย์ซึ่งทำยากเหลือเกินครับ เมื่อพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง AI สามารถป้อนพลังงานให้ตนเองได้(เช่นใช้ Solar cell ผลิตและป้อนพลังงาน) สามารถสร้าง เครือข่ายของ AI ได้ รวมทั้งผลิต AI ตัวใหม่ได้เหมือเราให้กำเนิดบุตร เมื่อถึงจุดนี้เมื่อไร ย่อมหมายถึงมนุษย์ไม่สามารถจะควบคุม AI ได้อีกต่อไป และมันใกล้จะถึงจุดนี้เต็มทีแล้ว2. ยิ่ง AI ฉลาดมากเพียงไร จะเกิดความเหลื่อมล้ำในหมู่ประชาชนในประเทศทุนนิยมสูงขึ้น เมื่อผู้มีรายได้สูงเท่านั้นที่สามารถครอบครองใช้ประโยชน์จาก AI นอกเสียจากต้องเปลี่ยนระบอบการเมืองเป็นแบบจีนที่รัฐเป็นเจ้าของ AI จึงทำให้ขอทานก็สามารถใช้ Smart phone รับเงินให้ทานจาก QR codeเจฟฟรีย์ ฮินตัน: เจ้าพ่อเอไอ ลาออกจาก Google เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าปัญญาประดิษฐ์อาจกลายเป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ .หลังจาก ‘เจฟฟรีย์ ฮินตัน’ (Geoffrey Hinton) ชายวัย 75 ปีผู้ได้รับฉายาว่า ‘เจ้าพ่อเอไอ’ ประกาศลาออกจาก Google ก็สร้างความหวั่นวิตกไปทั่ววงการเทคโนโลยี เพราะเขาไม่ใช่แค่ชายเลยวัยเกษียณ หากแต่เป็นผู้กรุยทางให้มนุษยชาติรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีสุดล้ำที่ต้องยอมรับว่า ยิ่งนานวันเข้า สมองกลเหล่านี้ก็ยิ่งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ .ถึงจะช้ำใจที่ต้องประกาศลาออกจากบริษัทที่เขาทุ่มเทแรงกายแรงใจให้มานานกว่าทศวรรษ แต่ ดร.ฮินตัน กลับมองว่า หากเขาไม่ลาออก โลกอาจถึงคราวล่มสลาย .“ผมพยายามปลอบใจตัวเอง หาข้อแก้ตัวมากมายมารองรับว่าหากผมไม่ทำ คนอื่นก็คงทำอยู่ดี”.ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เขาทำงานให้ Google เขาไม่เคยเผยความขุ่นเคืองใจออกสู่สาธารณะแม้แต่ครั้งเดียว เพราะเขาเชื่อมั่นว่าบริษัทที่เขามอบใจให้ สามารถควบคุมเทคโนโลยีที่เขาบุกเบิกขึ้นมา ไม่ให้พัฒนากลายเป็นภัยคุกคามต่อเพื่อนร่วมโลก.แต่โลกความจริงไม่เป็นดั่งใจฝัน ดร.ฮินตัน เริ่มมองเห็น ‘ภัยคุกคาม’ ที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดหย่อน ตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT โดย OpenAI มาจนถึง Bard แชทบอทจากฝั่ง Google ที่เปิดตัวในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นี่คือลางร้ายที่เขาเห็นอยู่รำไร.“ผมคิดว่า Google มีความรับผิดชอบสูงพอที่จะปล่อยแชทบอทตัวนี้ออกมา แต่เราก็ต้องยอมรับให้ได้ว่าในเมื่อพวกเราเกิดและโตท่ามกลางระบบทุนนิยม เราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการแข่งขันอย่างเสรี ระหว่าง Microsoft กับ Google ไปได้ ซึ่งผมต้องขอเล่าย้อนกลับไปหน่อยนึงละกัน.“ครั้งหนึ่ง OpenAI เคยสร้างสิ่งที่คล้ายกันแบบนี้ออกมา โดยใช้เงินจาก Microsoft และพวกเขาก็หยิบสิ่งที่สร้างขึ้นนี้ออกไปใช้ แน่นอนว่าเมื่อ Google เห็นแบบนั้น พวกเขาก็ไม่มีทางเลือกมากนัก… และคงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราไม่สามารถห้ามให้ทั้งสองบริษัทแข่งขันกันเอง”.ดร.ฮินตัน เกิดในลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเหลนของนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แมรี และ จอร์จ บูล (George Boole) ผู้คิดค้นพีชคณิตแบบบูล (Boolean algebra) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของตรรกศาสตร์ เขาเริ่มสนใจการทำงานของสมองมนุษย์มาตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมปลาย หลังจากคุยเล่นกับเพื่อนร่วมชั้นเรื่องการจัดเก็บความทรงจำในสมองมนุษย์ .เขาเชื่อว่าความทรงจำของคนเราถูกจัดเก็บไว้ในโครงข่ายประสาทที่มีอาณาเขตไม่มีที่สิ้นสุด คล้ายกับการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของโฮโลแกรม 3 มิติ ที่จะถูกกระจายไปยังฐานข้อมูลต่าง ๆ ในภายหลัง เมื่อเริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสมอง ในไม่ช้าเขาก็ตระหนักได้ว่า ‘สมอง’ เป็นส่วนที่มหัศจรรย์ แม้แต่วิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถไขปริศนาการทำงานของมันได้อย่างทะลุปรุโปร่ง.ในช่วงปี 1980 ดร.ฮินตัน เป็นศาสตราจารย์ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) แต่ลาออกจากมหาวิทยาลัย และย้ายไปยังเแคนาดา เนื่องจากลังเลที่จะรับเงินทุนของเพนตากอนในการนำมาพัฒนาเอไอ เพื่อใช้ในสนามรบ.เพราะในความคิดของ ดร.ฮินตัน เขาเชื่อว่าเทคโนโลยีควรเป็นของมนุษย์ทุกคน ทุกคนควรมีสิทธิ์เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม การนำไปพัฒนาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว จึงไม่ใช่อุดมการณ์การทำงานของเขามาตั้งแต่ต้น .ในปี 2012 ดร.ฮินตัน และลูกศิษย์อีก 2 คนของเขา ‘Ilya Sutskever’ ชาวอิสราเอล-แคนาดาที่เกิดในรัสเซีย (อิลยาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง OpenAI) และ ‘Alex Krishevsky’ ชาวแคนาดาที่เกิดในยูเครน ได้สร้างโครงข่ายประสาทเทียมในสมอง ซึ่งในทางทฤษฏีเขาเชื่อว่า หากโครงสร้างถูกนำมาจัดเรียงอย่างถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญาได้เทียบเท่ากับมนุษย์.โดยเริ่มจากให้โครงข่ายประสาทเทียมวิเคราะห์ภาพถ่ายหลายพันใบ และสอนให้พวกมันระบุวัตถุทั่วไป เช่น ดอกไม้ สุนัข และรถยนต์ .“ในทางวิทยาศาสตร์ คุณสามารถทดลองทำสิ่งบ้า ๆ บอ ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งที่ถูกหาว่าบ้าพวกนี้แหละ จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของโลก”.ผลจากการทดลองทำให้ ดร.ฮินตัน และลูกศิษย์ทั้งสองคน ได้รับรางวัล Turing Award ซึ่งมักเรียกกันว่าเป็น รางวัลโนเบลสาขาคอมพิวเตอร์ .นี่คือก้าวย่างอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ แน่นอนว่าช่วงแรก ดร.ฮินตัน คิดเช่นนั้น แต่ยิ่งนานวันเข้า เขากลับยิ่งรู้สึกทุกอย่างผิดที่ผิดทางไปหมด ไม่ใช่เพราะเขาแก่จนเลอะเลือน แต่เพราะเขาเริ่มคิดได้ว่า นี่อาจเป็นจุดจบของมนุษยชาติ หากมนุษย์เรายังหวังพึ่งเทคโนโลยีโดยไม่คิดที่จะพัฒนาตัวเอง.“เท่าที่ผมสามารถบอกได้ตอนนี้ก็คือ พวกมันยังไม่ฉลาดเท่าเรา แต่ผมเชื่อว่าอีกไม่นาน พวกมันจะฉลาดกว่ามนุษย์”.อีกหนึ่งความกังวลของ ดร.ฮินตัน คือ เขากลัวว่าช่องว่างระหว่างชนชั้นจะยิ่งถ่างกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ คนจนยิ่งจนลง ส่วนคนรวยจะยิ่งเพิ่มพูนความมั่งคั่ง ตราบเท่าที่พวกเขามีปัญญาประดิษบ์อยู่ในมือ.“ผมกังวลว่าเอไอ จะทำให้คนจนยิ่งจนลง ส่วนคนรวยจะยิ่งรวยขึ้น… ผมว่าในไม่ช้าสังคมเราจะยิ่งมีความขัดแย้งรุนแรง ซึ่งในมุมมองของผม เทคโนโลยีมันควรจะเป็นตัวลดความเหลื่อมล้ำ มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ สวยงาม และน่าชื่นชม แต่พวกมันกลับถูกพัฒนาเพื่อสนองความต้องการของคนกลุ่มเดียว ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม”.เจ้าพ่อเอไอ ยังเกรงว่าอนาคตอินเทอร์เน็ตจะเต็มไปด้วยภาพถ่าย วิดีโอ และข้อความอันเป็นเท็จ และคนทั่วไป อาจจะไม่สามารถแยกออกได้ว่าข้อมูลที่พวกเขาได้รับนั้น คือความจริงหรือเป็นเรื่องหลอกลวง.และอีกหนึ่งปัญหาใหญ่คือ เอไอจะเข้ามาแทนที่ตลาดแรงงานได้ในไม่ช้า เห็นได้ชัดจาก ChatGPT ที่สร้างความฮือฮามานักต่อนัก ไม่ว่าจะช่วยเขียนงานวิจัย เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งพวกมันทำได้อย่างยอดเยี่ยม จนมนุษย์อาจต้องดิ้นรนเพื่อหาอาชีพอื่นมารองรับ.“มันทำให้งานจิปาถะหายไป ถึงจะต้องใช้เวลานานกว่าที่พวกเราจะเริ่มเห็นผลของมัน แต่ผมว่ามันไม่นานเกินรอนักหรอก”.ดร.ฮินตัน ยังกังวลอีกว่าเทคโนโลยีรุ่นถัดไป อาจเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติครั้งใหญ่ เพราะพวกมันได้เรียนรู้พฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์มาหลายต่อหลายรุ่น ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็น หุ่นยนต์รบสมองกล หรือ ทหารหุ่นยนต์ ออกปฏิบัติการตามพื้นที่ต่าง ๆ .และนี่จะกลายเป็นข้อพิพาทความขัดแย้งครั้งใหญ่ของมนุษย์ ประเทศใดก็ตามที่มีกำลังมากพอ พวกเขาจะถือครองเทคโนโลยีที่เหนือชั้นกว่า และเมื่อเวลานั้นมาถึงทหารหุ่นยนต์เหล่านี้จะนำความย่อยยับมาสู่เผ่าพันธุ์มนุษย์.ฉะนั้น ความหวังของ ดร.ฮินตัน จึงตกไปอยู่ที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เขาหวังเพียงแค่ว่า อยากเห็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกร่วมมือกันควบคุมเทคโนโลยีที่อาจผันเปลี่ยนเป็นภัยคุกคามในอนาคต .“ผมไม่คิดว่าบริษัทหรือว่าประเทศต่าง ๆ ควรจะพัฒนาเทคโนโลยีให้มากไปกว่านี้ จนกว่าจะเข้าใจว่า พวกเขาสามารถควบคุมเทคโนโลยีเหล่านี้ได้จริง”.ก่อนจะทิ้งท้ายว่า เขาครุ่นคิดถึงการกระทำของตัวเองอยู่ทุกวัน จนตกตะกอนได้ว่าเขาไม่เคยเสียใจแม้แต่ครั้งเดียวที่พัฒนาเอไอขึ้นมา เพราะสุดท้ายแล้ว เทคโนโลยีจะดีหรือแย่ ล้วนขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน ซึ่งก็คือมนุษย์ผู้ประดิษฐ์และใส่สติปัญญาให้พวกมัน.เรื่อง: วันวิสาข์ โปทอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *