คืนหนึ่งในกรุงเทพฯ

1 > ภาพถ่ายจากอวกาศภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 และเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ในฐานะภาพ Image of the Day โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ชื่อภาพ One Night in Bangkok (หนึ่งคืนในกรุงเทพฯ) ล้อกับชื่อเพลงดังชื่อเดียวกันของเมอร์เรย์ เฮด นักแสดงและนักร้องชาวอังกฤษ2 > นาซาบรรยายภาพนี้เอาไว้ว่า ภาพถ่ายแนวเฉียงนี้ถ่ายทอดมุมมองของนักบินอวกาศที่มีต่อประเทศไทยในเวลากลางคืนเมื่อมองจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แสงไฟที่โดดเด่นของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นจุดโฟกัสโดยมีแสงไฟของเมืองอื่นๆ ที่เรียงรายไปตามชายฝั่งของอ่าวไทย3 > พื้นที่สีดำด้านซ้ายบนคือคาบสมุทรมลายูซึ่งแยกทะเลอันดามันออกจากอ่าวไทย เทือกเขาตะนาวศรีที่มีสีเข้มและเต็มไปด้วยผืนป่าดูเด่นชัดจากพื้นที่ราบชายฝั่งตอนล่างที่มีโทนสีอ่อนกว่าในทิศตะวันออก4 > นาซาบอกว่ากรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองเอกซึ่งมีประชากรอย่างน้อยสองเท่าของขนาดเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ กรุงเทพฯ มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนมากกว่าชลบุรีหลายเท่า (ประชากร 1.4 ล้านคน) ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับถัดไป แสงไฟของเมืองให้ภาพที่บ่งบอกถึงความหนาแน่นของประชากรที่สูงในเมืองและรอบๆ ใจกลางเมือง5 > แหลมฉบังสามารถมองเห็นได้ตามชายฝั่งตะวันออกของอ่าวกรุงเทพ เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทย (หมายเหตุ – อ่าวกรุงเทพหรืออ่าวไทยตอนในเป็นจุดเหนือสุดของอ่าวไทย โดยคิดจากอำเภอหัวหินในทางตะวันตกไปจนถึงอำเภอสัตหีบ แม่น้ำเจ้าพระยาและลำน้ำสายแยก แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางตะบูน แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงไหลลงสู่อ่าวนี้)6 > นาซาอธิบายว่าจุดสีเขียวที่โปรยทั่วอ่าวไทยคือเรือประมงที่ใช้แสงไฟเพื่อดึงดูดแพลงก์ตอนและปลาหมึก การประมงเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญเนื่องจากการบริโภคโปรตีนจากสัตว์ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมาจากอาหารทะเล บริษัทต่างๆ รอบอ่าวไทยยังเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ปลาจากต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดไปยังสหรัฐอเมริกา7 > ภาพถ่ายนักบินอวกาศเลขที่ ISS064-E-37842 ได้มาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล Nikon D5 ที่ใช้ทางยาวโฟกัส 58 มม. ภาพนี้ถ่ายโดยสมาชิกของทีมนักบินอวกาศ Expedition 64 ภาพได้รับการครอบตัดและปรับปรุงเพื่อความคมชัด นักบินอวกาศได้ถ่ายภาพโลกเพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์และเผยแพร่แก่สาธารณชนและเพื่อให้ภาพเหล่านั้นสามารถใช้งานได้อย่างอิสระบนอินเทอร์เน็ตที่มา: NASA

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *