ความหิวทำให้การอดแบบรอมฎอนแตกต่างจากการอดแบบไอเอฟ

รู้จัก “ไอเอฟ” (IF หรือ Intermittent Fasting) กันดีอยู่แล้ว ไอเอฟคือวงจรการกินสลับกับการอดอาหาร วัตถุประสงค์เพื่อลดหรือดูแลน้ำหนักตัว รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ 16/8 หมายถึงในหนึ่งวัน 24 ชั่วโมง อดอาหาร 16 ชั่วโมง กินอาหาร 8 ชั่วโมง ปฏิบัติกันสองวันต่อสัปดาห์บ้าง เรียกว่า 5:2 diet หรือสามวันบ้าง สี่วันบ้าง เวลานี้มีงานวิจัยนำเสนอในการประชุมวิชาการในสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่ใช้อาสาสมัคร 2-4 หมื่นคน ติดตามผลการศึกษานาน 12-18 ปี ได้ข้อสรุปว่าคนที่ปฏิบัติไอเอฟเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นถึง 91% เรื่องนี้กลายเป็นไวรัลสร้างความตื่นตระหนกกันเป็นอย่างมากเมื่ออ่านงานวิจัยชิ้นนี้ เห็นว่ามีจุดอ่อนในการวางแผนงานวิจัยอยู่มาก ดังนั้นอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าไอเอฟสร้างปัญหาการปฏิบัติไอเอฟยังมีคนจำนวนไม่น้อยปฏิบัติกันด้วยความไม่เข้าใจ ไอเอฟเน้นไปที่การลดพลังงานจากอาหารที่ร่างกายได้รับต่อวัน ทว่าคนจำนวนหนึ่งกลับเน้นไอเอฟไปที่การกินอาหาร 8 ชั่วใมง ส่งผลให้กินมากเกินไปบ้าง กินไม่ได้คุณภาพบ้าง อาสาสมัครจึงต้องเข้าใจหลักการไอเอฟให้ถูกต้อง อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าไอเอฟเป็นปัญหา ต้องเริ่มด้วยการปฏิบัติไอเอฟอย่างถูกต้องให้ได้เสียก่อน อีกเรื่องหนึ่งที่อยากสร้างความเข้าใจคือไอเอฟกับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนแบบอิสลามนั้นแตกต่างกัน ไอเอฟไม่เน้นไปที่การอดอาหารให้เกิดอาการหิวและฝึกความอดทนจากความหิวซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการถือศีลอดแบบอิสลาม การอดทนโดยไม่ยอมกินอาหารหลังการถือศีลอดส่งผลให้ร่างกายตอบสนองทั้งทางสรีรวิทยาและจิตใจ เกิดความผันผวนของเมแทบอลิซึมในร่างกาย ร่างกายจึงเริ่มปรับตัว การอดอาหารแบบอิสลามจึงสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมได้มากกว่าไอเอฟ โดยผู้ปฏิบัติต้องฝึกฝนให้ร่างกายอดทนกับความหิว แตกต่างจากไอเอฟที่ไม่เน้นการฝึกในลักษณะนั้น ประโยชน์ที่ได้จากการปฏิบัติไอเอฟและและการถือศีลอดแบบอิสลามหากปฏิบัติกันอย่างถูกต้อง ความแตกต่างของการอดอาหารแบบไอเอฟกับรอมฎอนคือกลไกการทำงานของฮอร์โมนบางตัวเปลี่ยนแปลงไป การอดอาหารกระทั่งเกิดความหิวส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของกลไกการทำความสะอาดเซลล์ที่เรียกว่า autophagy ได้มากกว่า ขณะที่ไอเอฟไม่ก่อความหิวมากนัก การอดอาหารช่วงเวลากลางวันในไอเอฟเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ กลไกการทำความสะอาดเซลล์เกิดได้น้อย การปฏิบัติไอเอฟจึงมีผลต่อการยืดอาอายุขัยได้น้อย ขณะที่การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นการอดในเวลากลางวันให้ผลต่อกลไกการยืดอายุขัยมากกว่า เรื่องนี้จำเป็นต้องมีข้อมูลจากการศึกษาที่มากขึ้นกว่านี้ #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #ไอเอฟ, #อดแบบรอมฎอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *