มัมลุกส์ – ทหารทาสผู้พิชิตมองโกลและนักรบครูเสดในประวัติศาสตร์อิสลาม ตอนที่ 5

ค.ศ.1258-1260 เมื่อครั้งกองทัพมองโกลของฮูลากูข่านรุกเข้าทำลายแบกแดดและยึดครองเลแวนท์หรือซีเรีย ปาเลสไตน์ครอบคลุมตั้งแต่อะเลปโป ดามัสกัส ไปจนถึงเยรูซาเล็มและกาซาก่อนจะพ่ายแพ้ต่อกองทัพมัมลุกส์ สภาพบ้านเมืองของโลกอิสลามเวลานั้นเป็นอย่างไร นักประวัติศาสตร์ตะวันตกบางคนกล่าวว่าเมื่อกองทัพมองโกลทำลายแบกแดดในเดือนกุมภาพันธ์ 1258 อารยธรรมความรุ่งเรืองของโลกอิสลามได้ถูกทำลายลงพร้อมกับแบกแดด ศึกษากันจริงๆมันไม่ใช่เช่นนั้น แบกแดดใน ค.ศ.1258 ไม่ได้เป็นศูนย์กลางอาณาจักรอิสลามเช่นเมื่อครั้งก่อนหน้านั้น #คอลีฟะฮฺ (#Caliphate) หรือผู้นำโลกอิสลามจากราชวงศ์อับบาสิยะฮฺแม้ปกครองอาณาจักรแบกแดด แต่เป็นเพียงตำแหน่งผู้นำศาสนาอิสลามในพื้นที่อื่นทว่าไม่มีอำนาจทางการเมือง โดยอาณาจักรอิสลามที่กระจายตัวออกไปโดยรอบ หลายแห่งปกครองโดยสุลต่าน มีบางช่วงบางตอนที่สุลต่านบางอาณาจักรแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์เสียด้วยซ้ำ อย่างเช่นช่วง #ราชวงศ์ฟาติมิดส์ ค.ศ.909-1171 ในอิยิปต์ไม่ยอมรับความเป็นคอลีฟะฮ์ของอับบาสิยะฮฺ เมื่อไม่รับอับบาสิยะฮฺก็ทำอะไรไม่ได้ยึดแบกแดดได้แล้ว ฮูลากูข่านจึงต้องกรีฑาทัพไปสยบมุสลิมอีกหลายเมืองที่อยู่ในพื้นที่ของเลแวนท์เข้ายึดอะเลปโปและดามัสกัสที่ปกครองโดยสุลต่านราชวงศ์อัยยูบิด ก่อนลงมาที่กาซาและเยรูซาเล็มที่เวลานั้นปกครองโดยสุลต่านเติร์กสายควาริซเมียน (Khwarizmian Turk) ซึ่งเป็นมัมลุกส์อีกกลุ่มหนึ่ง นอกจากนี้ในซีเรีย ปาเลสไตน์ เวลานั้นหลายเมืองกลายเป็นป้อมค่ายของนักรบครูเสดจากยุโรปที่รุกเข้ามาก่อสงครามครูเสดที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 10 ดังนั้นเมื่อคอลีฟะฮฺแห่งแบกแดดถูกสังหารด้วยมือฮูลากูข่านใน ค.ศ.1258 ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ในลักษณะผู้นำศาสนาจึงสะดุดลงสองปีกระทั่งหลังชัยชนะของกองทัพมัมลุกส์ต่อมองโกล มัมลุกส์หาทางฟื้นฟูแบกแดดทว่าไม่สำเร็จเนื่องจากถูกทำลายลงจนไม่เหลือ จำเป็นต้องนำรัชทายาทราชวงศ์อับบาสิยะฮฺมาแต่งตั้งเป็นคอลีฟะฮฺที่ไคโรโดยเป็นตำแหน่งผู้นำทางศาสนาอิสลามเท่านั้น อำนาจในการปกครองยังคงเป็นของสุลต่านจาก #ราชวงศ์มัมลุกส์วิเคราะห์กันให้ลึกจะพบว่าศึกระหว่างโลกมุสลิมกับมองโกลใน ค.ศ.1258-1260 เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โลกมุสลิมยังหาผู้นำทางการเมืองเป็นตัวตนไม่ได้ คอลีฟะฮฺที่แบกแดดหาใช่ผู้นำที่แท้จริงในโลกมุสลิมไม่ การฟื้นคืนอำนาจของโลกมุสลิมอีกครั้งหลังจากนั้นต้องยกเครดิตให้กับกองทัพมัมลุกส์ที่ส่วนใหญ่เป็นชนชาวเติร์กที่ถูกเลี้ยงดูกระทั่งเติบโตมาในวัฒนธรรมอาหรับ การแต่งกาย ภาษาพูดจึงเป็นอาหรับ เมื่อกองทัพมัมลุกส์ยึดอำนาจได้จากเจ้านายตนเองคือราชวงศ์อัยยูบิด สร้างราชวงศ์ที่ไม่เชิงเป็นราชวงศ์นักใน ค.ศ.1250 เรียกกันว่ามัมลุกส์ พื้นที่ตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือเวลานั้นระอุไปด้วยไอของสงครามครูเสด สงครามมองโกลกับอับบาสิยะฮฺที่แบกแดดกลายเป็นอีกหนึ่งเชื้อไฟที่เติมลงไปในพื้นที่ให้วุ่นวายมากขึ้นเท่านั้น ตัวละครสำคัญมีอยู่สามตัวคือ #เบบาร์สแห่งมัมลุกส์ ฮูลากูข่านแห่งมองโกล และพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ “#เซนต์หลุยส์” ของคริสต์นิกายแคธอลิกในเวลาต่อมา #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *