สัญญาณเตือนเรื่องความมั่นคงด้านจุลโภชนสาร

โกหวิดระบาดลากยาวมากว่าสองปีแล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ใน ค.ศ.2022 หลายประเทศรวมทั้งไทยกำหนดให้โรคเปลี่ยนสภาพการระบาดจากระดับ pandemic เป็น endemic หรือโรคประจำถิ่น ทว่านักระบาดวิทยาหลายคนยังไม่เห็นด้วย เนื่องจากหลายพื้นที่ยังระบาดสาหัสสากรรจ์อยู่แต่จะหนักหนาแค่ไหน ปัญหาใหญ่กว่าการระบาดของโรคคือสภาพเศรษฐกิจที่กำลังทำเอาหลายประเทศล่มสลาย ยิ่งปัญหาสงครามรัสเซีย=ยูเครนทับถมเข้ามา ปัญหาขาดแคลนพลังงาน ขาดแคลนธัญพืชหลัก บางประเทศอย่างศรีลังกา สปป.ลาว ปากีสถาน และอีกหลายประเทศ เจอภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว เงินเฟ้อพุ่งสูง ค่าเงินตกต่ำ ทำเอาประเทศเดินต่อแทบไม่ได้กันแล้วนอกจากเศรษฐกิจ สุขภาพของประชากรเองก็สำคัญ เมื่อเร็วๆนี้มีงานวิจัยทางระบาดวิทยาของสภาวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (BBSRC) แห่งสหราชอาณาจักรนำทีมโดยศาสตราจารย์กาย ป็อบปี (Guy Poppy) ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2022 พบว่าสิ่งที่ต้องคำนึงให้มากในยุคหลังโกหวิดคือความมั่นคงด้านจุลโภชนสาร (Micronutrient security) อันได้แก่ วิตามิน เกลือแร่และไฟโตนิวเทรียนท์ ที่มีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคหลายโรคได้แน่นอนในอดีตสหราชอาณาจักรไม่เคยคิอเรื่องนี้มาก่อน โดยก่อนจะเข้าร่วมสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักรมีภาคการเกษตรที่เข้มแข็ง ปัญหาการขาดอาหารและสารอาหารจึงไม่เคยปรากฏ ทว่าเมื่อสหราชอาณาจักรเข้าร่วมสหภาพยุโรป ยุทธศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป มีการแบ่งภาระหน้าที่กันในแต่ละประเทศ ทำให้พึ่งพิงอาหารผ่านการนำเข้ามากขึ้น ซึ่งระยะนั้นช่วยแก้ปัญหาได้กระทั่งลืมปัญหาความมั่นคงทางอาหาร ต่อมาเมื่อสหราชอาณาจักรลาออกจากสหภาพยุโรปจากนโยบาย Brexit จึงเริ่มตระหนักถึงปัญหาความมั่นคงทางอาหารเนื่องจากผลผลิตการเกษตรหายไปมาก ยิ่งมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารยิ่งชัดเจนขึ้น ภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ประเด็นการกีดกันทางการค้า ค่านิยมด้านการบริโภคและการตลาด ความนิยมอาหารพื้นฐานจากพืช (Plant-based foods) เพื่อลดการทำปศุสัตว์แก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน ยิ่งส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลนจุลโภชนสารเพิ่มขึ้นอีก นักโภชนาการจึงส่งสัญญาณเตือนฝ่ายการเมืองและนโยบายให้ตระหนักถึงปัญหาความมั่นคงทางจุลโภชนสารที่ใกล้จะรุนแรงขึ้น สหราชอาณาจักรและยุโรปเวลานี้เริ่มเป่านกหวีดเตือนกันแล้ว อาเซียนและประเทศไทยจะว่ากันอย่างไร จะไม่ฟังเลยคงไม่ได้ #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #micronutrientsecurity, #ความมั่นคงด้านจุลโภชนสาร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *