ประโยชน์ด้านการใช้พลังงานของร่างกายจาก “การละหมาด”

พลังงานที่สร้างจากโมเลกุลของน้ำตาล ร่างกายนำไปใช้ทำงานหรือนำไปสร้างความร้อนหรือนำไปสะสมเป็นไขมันมีอิทธิพลของนาฬิกาชีวิต (Biological clock) และฮอร์โมนอินสุลิน (Insulin) เข้ามากำกับและเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ประสิทธิภาพการนำพลังงานจากโมเลกุลของน้ำตาลไปใช้จึงขึ้นกับว่าช่วงเวลานั้นมีแสงหรือไม่มีแสง อิทธิพลเช่นนี้เองเป็นผลให้การกินยามค่ำคืนอ้วนง่ายกว่าการกินกลางวัน โดยในที่นี้ไม่ขออธิบายในรายละเอียดAras E แห่ง University of Geneva (UNIGE) ทำวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Cell Reports 2019 พบว่าความว่องไวในการทำงานของฮอร์โมนอินสุลินสัมพันธ์กับนาฬิกาชีวิตในช่วงมีแสงและไม่มีแสง โดยแสงจากดวงอาทิตย์แม้มีน้อยมาก ตัวอย่างเช่น ช่วงก่อนเช้า ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นทว่ามีแสงอาทิตย์ (แสงอรุณ) จับขอบฟ้า หรือช่วงโพล้เพล้ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วทว่ายังมีแสงแดงจับท้องฟ้าอยู่ สองช่วงเวลานี้นาฬิกาชีวิตทำงานเสมือนยามกลางวัน ฮอร์โมนอินสุลินเน้นทำหน้าที่นำพลังงานไปใช้ในการทำงานมากกว่านำไปสะสม ขณะที่ยามไม่มีแสง อินสุลินเน้นทำหน้าที่นำพลังงานไปสะสมเป็นไขมัน ข้อเท็จจริงนี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดเวลาละหมาดในอิสลามอิสลามกำหนดให้มุสลิมในวัยเข้าเกณฑ์ตามศาสนบัญญัติทำการละหมาดภาคบังคับที่เรียกว่า “ฟัรฎู” 5 เวลาต่อวันรวม 17 รอกะอัต ไม่รวมการละหมาดภาคไม่บังคับที่เรียกว่า “รอวาติบ” อีก 5 เวลาต่อวัน 12 รอกะอัต หากละหมาดภาคบังคับและไม่บังคับครบถ้วนย่อมหมายถึงละหมาด 29 รอกะอัต ใครทำละหมาดภาคบังคับครบร่างกายจะใช้พลังงาน 80.07 กิโลแคลอรี หรือเท่ากับพลังงานจากขนมหนึ่งถ้วย หากรวมละหมาดภาคไม่บังคับครบถ้วน ร่างกายใช้พลังงาน 136.6 กิโลแคลอรีซึ่งเท่ากับพลังงานจากอาหารว่างหนึ่งมื้อ โดยกำหนดให้การละหมาด 1 รอกะอัตใช้พลังงานเฉลี่ย 4.71 กิโลแคลอรี การละหมาดจึงเสมือนออกกำลังกาย โดยให้ประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อและเส้นเอ็นพร้อมประโยชน์ด้านสมาธิ ความจำและจิตวิญญาณ เวลาที่กำหนดในการละหมาด 5 เวลา พบว่า 4 เวลา ได้แก่ ซุบฮิ (ก่อนเช้า) ดุฮฺริ (เที่ยง) อัสริ (บ่าย) มัฆริบ (โพล้เพล้) นับเป็นช่วงที่มีแสง โดยช่วงก่อนเช้าตรู่ที่เรียกว่าซุบฮิแม้ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ทว่ามีแสงจับท้องฟ้าที่เรียกว่า “ฟะญัร” ขณะที่ยามมักริบยังมีแสงแดงจับท้องฟ้าแม้น้อยนิดทว่ามีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนอินสุลิน ร่างกายนำพลังงานไปใช้ไม่นำไปสะสม มีเพียงเวลาเดียวคือ “อีซา” ที่ละหมาดยามหมดแสงแล้ว ช่วงนั้น ร่างกายนำพลังงานไปสะสม หากมีการใช้พลังงาน ร่างกายย่อมนำพลังงานไปใช้ทำงานมากกว่าสะสม ดังนั้นการละหมาดอีซา หรือละหมาดยามค่ำคืน เช่น กิยามุลลัย ตะฮัจยุด วิเตร หรือแม้กระทั่งตะรอเวียะฮฺในเดือนรอมฎอน แม้ฮอร์โมนอินสุลินจะกำหนดให้นำพลังงานไปสะสม ทว่าการละหมาดเสมือนบังครับให้ร่างกายนำพลังงานไปใช้ทำงานจึงไม่สะสม ทั้งหมดนี้คือประโยชน์ที่จับต้องได้ของการละหมาด #ดรวินัยดะห์ลัน, #drwinaidahlan, #ละหมาดกับสุขภาพ, #อินสุลิน, #นาฬิกาชีวิต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *