นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรฝึกนักวิทยาศาสตร์ฮาลาลซาอุดีอาระเบียในขณะนี้ นี่คือเกียรติภูมิของประเทศไทย

ตัวแทนศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล (ศวฮ.) เข้าร่วมเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการและการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการในการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอสุกรในผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์เจลาติน ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนด้านเทคนิคของสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาสำหรับประเทศมุสลิม (The Standards and Metrology Institute for Islamic Countries – SMIIC) ภายใต้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศอิสลาม (Organization of Islamic Cooperation-OIC) ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมนี้คือ SMIIC และได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการถาวรด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางพาณิชย์ (The Standing Committee for Economic and Commercial Cooperation-COMCEC)วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 ดร.พรพิมล มะหะหมัด ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศวฮ. พร้อมด้วยนางสาวสุกัญญา โสอุดร เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “Halal Food and Meat Detection Methods Training and Interlaboratory Comparison for OIC Countries” ได้นำเสนอเทคนิคการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนดีเอ็นเอสุกรในผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์เจลาติน ด้วยวิธี Real-time PCR โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทและความสำคัญของการพัฒนางานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีฮาลาลของประเทศไทย ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสนใจและตั้งใจอย่างดียิ่ง และได้รับการชื่นชมการนำเสนอผ่านวีดีโอที่สามารถเข้าใจกระบวนการตรวจวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะนำเทคนิคไปใช้ในงานพัฒนาด้านมาตรฐานฮาลาลในประเทศของตนเอง พัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดย ศวฮ. ที่ยกระดับถึงนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่เรียกว่า HAFOLAB (Halal Forensic science Laboratory) กระทั่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025:2017 และ ISO/IEC9001/2015 การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 26 ตุลาคม 2566 ณ Saudi Food and Drug Authority (SFDA) เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ทั้งสิ้น 76 คนทั้งในระบบ online และ offline จาก 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี อิรัก อิหร่าน จอร์แดน โมร็อกโก ปากีสถาน และไทย #ดรวินัยดะห์ลัน#DrWinaiDahlan#ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล#จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย#SMIIC#OIC#SFDA#Saudiarabia#ซาอุดีอารเบีย#Halal#ฮาลาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *