ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 29

อะนาโตเลีย (Anatolia) เป็นชื่อคาบสมุทรซึ่งเป็นผืนแผ่นดินขนาดใหญ่ทอดเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ทางใต้ ทะเลอีเจียนทางตะวันตกและทะเลดำทางเหนือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศตุรกี ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเติร์กที่เคลื่อนย้ายมาจากเอเชียกลาง ส่วนน้อยคือเคิร์ด อาร์มีเนีย กรีก อัสซีเรีย จอร์เจีย ยิว และอีกหลายเผ่าพันธุ์ ทว่าก่อนที่ชนเติร์กจะหลั่งไหลเข้าสู่คาบสมุทรแห่งนี้ก็ล่วงเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้ว การหลั่งไหลเข้ามาของชนเติร์กมาจากหลายเหตุผล เช่น หนีภัยการระรานของชนเผ่ามองโกลที่เริ่มเรืองอำนาจขึ้นมา ความขัดแย้งกับชนเติร์กต่างเผ่าในพื้นที่เดิม การแสวงหาแหล่งทำมาหากินใหม่และอีกหลายปัจจัยนักประวัติศาสตร์ระบุว่าตอนต้นศตวรรษที่ 11 พื้นที่ด้านตะวันออกของอะนาโตเลียคราคร่ำไปด้วยเต๊นท์หรือกระโจมของชนชาวเติร์กนับจำนวนแสน คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยปศุสัตว์ทั้งแพะแกะวัว บางส่วนเลี้ยงชีพด้วยการค้ากับชนเติร์กด้วยกันและชนกลุ่มอื่น ชัยชนะของเซลจุกต่อไบแซนไทน์ใน ค.ศ.1071 ส่งผลให้เกิดการหลั่งไหลของชนเติร์กเข้าสู่อะนาโตเลียมากขึ้น กระทั่งกลายเป็นชนส่วนใหญ่กระจายไปทั่วอะนาโตเลีย เซลจุกรวมเผ่าต่างๆสร้างรัฐสุลต่านแห่งรุมขึ้นใน ค.ศ.1077 ที่ต่อมาพ่ายแพ้ต่อมองโกลใน ค.ศ.1243 ส่งผลให้เผ่าเติร์กภายใต้รัฐสุลต่านตั้งตนเป็น #เบลิกส์ (#Beyliks) กึ่งอิสระรวมถึงเผ่า “คายี” (Kayi) ซึ่งผู้นำอย่างเออร์ทูรุล (Ertugrul ค.ศ.1198-1281) ต้องคอยดูแลเผ่าให้รอดพ้นจากอำนาจของมองโกล ไบแซนไทน์ บางครั้งต้องคอยหลบเลี่ยงอิทธิพลของทหารครูเสด ทั้งการกระทบกระทั่งกับชนเผ่าเติร์กด้วยกันที่ต่างมีชะตากรรมไม่ต่างกันหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้อีกว่าก่อนที่ชนเติร์กจากเอเชียกลางจะแห่แหนกันเข้ามาตั้งรกรากกันในอะนาโตเลีย ชุมชนเดิมในพื้นที่นี้ประกอบไปด้วยชนหลายเชื้อชาติมีประชากรมากถึง 4 ล้านคน หลังการหลั่งไหลเข้าพื้นที่ของเติร์กเผ่าต่างๆ ชนหลายเชื้อชาติจำนวนไม่น้อยมิได้ย้ายออกไปแต่ผสมกลมกลืนไปกับชนเติร์กผ่านการเปลี่ยนวัฒนธรรม ภาษาพูด การแต่งงาน การเปลี่ยนศาสนามาสู่อิสลาม เมื่อศึกษาทางพันธุกรรมของประชากรตุรกีรุ่นใหม่พบว่ามีดีเอ็นเอผสมผสานทั้งเอเชียกลาง มองโกล คอเคเซียน กระทั่งกลายเป็นเติร์กิชไปหมดเรียกกันว่า #Turkification หรือ #การรวมเป็นเติร์ก การผสมกลมกลืนเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคแรกที่เติร์กเข้ามาในอะนาโตเลียจนกระทั่งถึงยุคหลัง ไม่ต่างจากการผสมผสานของชนหลายเชื้อชาติที่เข้ามาเป็นไทยในสุวรรณภูมิการรวมเป็นเติร์กมีมากขึ้นกระทั่งชะลอตัวลงจากการเข้ามาของมองโกลหลัง ค.ศ.1243 ครั้งนั้นแม้มองโกลยังอนุญาตให้ดำรงความเป็นรัฐของเติร์กไว้ได้ขอเพียงส่งบรรณาการยอมเป็นรัฐบริพารของมองโกลทว่าเผ่าต่างๆของเติร์กที่เคยรวมกันเข้าเป็นรัฐสุลต่านแห่งรุมเริ่มปริแตกออกอีกครั้ง จากนั้นหลังการทำลายแบกแดดตลอดจนการเขม็งเกลียวการปกครองของมองโกล แต่ละชนเผ่าของเติร์กรวมทั้งเผ่าคายีต่างดิ้นรนที่จะเป็นอิสระ กระทั่งเมื่อเกิดความขัดแย้งภายในของมองโกลระหว่างรัฐข่านอิลคาเนต (Ilkhanate) และรัฐกระโจมทอง (Golden Horde) ในที่สุดส่งผลต่อการเติบโตของชนเติร์กในนามจักรวรรดิใหม่ที่มีชื่อว่า “ออตโตมัน” หรืออุสมานียะฮฺช่วงปลายศตวรรษที่ 13 #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *