ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 16

อารยธรรมแสดงถึงความรุ่มรวยของแต่ละสังคมจะสร้างอารยธรรมได้สังคมต้องมีความสงบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอควร การรักษาอารยธรรมไว้จำเป็นต้องมีกองทัพเข้มแข็ง เศรษฐกิจมั่นคง จีนคือตัวอย่างที่ดี ขณะที่ฮารัปปาและโมฮันโจดาโรอารยธรรมเก่าแก่ในปากีสถานหลายพันปีมาแล้วเพราะมีกองทัพอ่อนแอจึงสูญสิ้นชาติ มองโกลคืออีกตัวอย่างหนึ่งที่แม้มีกองทัพเข้มแข็ง กลับเสียเวลากับการศึกสงครามกระทั่งสร้างอารยธรรมรุ่งเรืองขึ้นไม่ได้ สุดท้ายก็ดับสูญ ขณะที่เติร์กเกือบไม่ต่างจากมองโกล มีกองทัพเข้มแข็ง ทว่าขาดอารยธรรม สุดท้ายปรับตัวหาหนทางสร้างอารยธรรมของตนขึ้นมาได้ กระทั่งโดดเด่นอยู่รอดมาจนทุกวันนี้ คนเติร์กยุคใหม่เห็นทีต้องขอบคุณวิสัยทัศน์ของเซลจุกและอุสมานียะฮฺที่ร่วมกันสร้างไว้เติร์กในเอเชียกลางนำอารยธรรมของเปอร์เซียมาใช้ ภายหลังถดถอยโดยฝีมือมองโกล ต่อมาชนเติร์กเองอย่างติมูร (Timur) หรือทาเมอเลน (Tamerlane) กลับเลียนพฤติกรรมมองโกลสร้างจักรวรรดิยิ่งใหญ่โดยก่อสงครามไม่จบสิ้นกระทั่งทำลายชนเติร์กด้วยกันเอง เติร์กในเอเชียกลางจึงสร้างอารยธรรมต่อยอดได้ยาก เป็นอย่างนี้เองเติร์ก-มองโกลที่สืบเชื้อสายจากติมูรจึงอพยพโยกย้ายออกจากเอเชียกลางหันไปก่อร่างสร้างตัวใหม่ในอินเดียกระทั่งสร้างอารยธรรมยิ่งใหญ่ของราชวงศ์โมกุลขึ้นมาได้ มีสองคำถามที่น่าสนใจกรณีของเติร์ก คำถามแรกคือเหตุใดเติร์กจากเอเชียกลางจึงอพยพโยกย้ายไปจนถึงอะนาโตเลียหรือตุรกีในปัจจุบัน คำถามที่สองคือเติร์กจากเอเชียกลางกับเติร์กในตุรกีเป็นกลุ่มชนเดียวกันหรือไม่เนื่องจากหน้าตาไม่เหมือนกันสักเท่าไหร่ คำตอบแรกคือความเป็นชนเร่ร่อนทำให้เติร์กอพยพย้ายถิ่นไปเรื่อย เมื่อเติร์กจำนวนมากเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม การผสมกลมกลืนด้านวัฒนธรรมกับอาหรับและเปอร์เซียเกิดง่ายขึ้น อีกทั้งเติร์กจำนวนมากเคลื่อนย้ายตามกองทัพเซลจุกลงมาที่เปอร์เซีย ภายหลังจึงย้ายเข้าไปค้าขายในอะนาโตเลีย กระทั่งเข้าไปทดแทนประชากรกรีก อาร์มีเนียและจอร์เจียในพื้นที่ อีกประการหนึ่งคือการรุกรานของมองโกลและติมูรในคริสต์ศตวรรษที่ 13-15 คือปัจจัยสำคัญที่ชนชาวเติร์กหนีภัยสงครามเข้าไปในอะนาโตเลีย คำถามที่สอง ชนชาวเติร์กในเอเชียกลางและตุรกีเป็นชนชาติเดียวกันแต่กลุ่มที่ติดตามเซลจุกลงมาในเอเชียกลางส่วนใหญ่เป็นชาวออกุส (Okhuz) ที่มีหน้าตาที่มีลักษณะคล้ายคอเคเซียนทว่ายังมีลักษณะของมองโกลอยด์เช่นกันกลับมาที่เซลจุกอีกครั้ง เมื่อทำสงครามกับไบแซนไทน์ได้ชัยชนะใน ค.ศ.1071 ชนเติร์กจำนวนมากหลั่งไหลเข้าไปในอะนาโตเลีย จากนั้นไม่นานนักเกิดปัญหาในจักรวรรดิเซลจุกซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับที่เกิดขึ้นกับชนเผ่ามองโกลนั่นคือการแบ่งอำนาจการปกครองเมื่อผู้นำเสียชีวิต อาณาจักรเซลจุกถูกแบ่งให้กับบุตรที่มีหลายคน ปัญหาเป็นเช่นเดียวกันกับการบริหารจัดการในวิถีของชนเผ่ามองโกล นั่นคือใน ค.ศ.1092 เกิดการแบ่งอาณาจักรกันในหมู่ทายาทของเซลจุก ความสับสนและการแย่งอำนาจในแบกแดดเป็นผลให้ใน ค.ศ.1118 การปกครองของเซลจุกในแบกแดดเปลี่ยนมือกลับคืนสู่ราชวงศ์อับบาสิยะฮฺอีกครั้ง ไม่น่าเชื่อว่าเป็นเพราะความสับสนจึงทำให้อำนาจของคอลีฟะฮฺที่หายไปนานกว่า 170 ปีหวนคืนกลับมา #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *