ท่านสีจิ้นผิง ได้อ่านเรื่อง “ชานกว่า” จาก หนังสือพิมพ์ประชาชนรายวัน แล้ว เกิดความประทับใจในความใจบุญที่เปี่ยมด้วยเมตตาจิตของผู้คน จึงแนะนำให้คนจีนได้อ่านกัน ผู้ถ่ายทอดเรื่องนี้ ชื่อ เจี่ยงอี แปลเป็นภาษาไทย ให้อ่าน โดย : คุณแสวง เครือวิวัฒนกุลเนื้อเรื่อง : ฉันมักจะโอดครวญว่า ชีวิตไม่ค่อยจะสมหวัง เพราะ “คนเรา มักมองหาที่สูงกว่าเสมอ ” มันเป็นสัจธรรม เป็นเรื่องของธรรมชาติ มาตฐานของความสมหวังอยู่ที่ไหน? จะเปรียบเทียบกันได้อย่างไร กับใคร? แต่ เมื่อไม่นานมานี้ ฉันได้เดินทางไกล ระหว่างทางพบเหตุการณ์บางอย่าง ทำให้สิ่งที่ครุ่นคิดมาโดยตลอด อะไร คือ มาตรฐานความสมหวังของชีวิต รู้สึกจะมีจิตสำนึกใหม่เกิดขึ้น ฉันออกเดินทางไกลจากปักกิ่งไปอำเภอ “หยวนโม๋ว มณฑลยูนนานด้วยรถไฟ ขณะที่รถไฟเดินทางถึงตะเข็บ รอยต่อ ระหว่างมณฑลเสฉวน และ มณฑลยูนนาน มองจากหน้าต่างรถไฟ เห็นสองข้างทางล้วนเป็นป่าเขาไม่มีผู้คนอยู่อาศัย รถไฟได้จอดที่สถานี 沙窝 “ซาอวา” 20 นาที เพื่อรับผู้โดยสาร มองไปนอกหน้าต่าง ฉันเห็นเด็กชายหญิงกลุ่มหนึ่ง อายุประมาณสิบสามสิบสี่ปี บนหลังต่างแบกเข่งใบใหญ่ ที่สานด้วยเปลีอกไม้ไผ่ ต่างแย่งชิงกันขึ้นรถไฟอย่างสุดชีวิต เข่งที่แบกอยู่ที่หลัง เป็นอุปสรรคแก่พวกเขา ที่จะเบียดขึ้นรถไฟพอสมควร โบกี้ที่ฉันน้่ง มีเด็กหญิงคนหนึ่งเบียดขึ้นมา อยู่ข้างที่นั่ง เธอรูปร่างผอมมาก เธอปลดเข่ง ที่จุของเต็มเข่ง ลงจากบ่า ด้วยความทุลักทุเล เสร็จแล้วเธอใช้ฝ่ามือปาดเหงื่อบนใบหน้า สองมือรวบผม ที่ปกหน้า ไปไว้ข้างหลัง เผยโฉมสวยน่ารักของเธอออกมา แต่ซีดเซียวดั่งสีผัก มองดู ก็รู้ว่า เธอขาดสารอาหาร เสื้อแขนครึ่งท่อน ที่เธอสวม ตัดด้วยผ้าพื้นเมือง เต็มด้วยรอยปะ ทั้งหน้าหลัง กางเกงก็ขาดวิ่น ขากางเกงสองข้าง สั้นยาวไม่เท่ากัน เต็มด้วยรอยปะเช่นกัน เป็นที่ประจักษ์ว่า เป็นเด็กมาจากครอบครัวที่ยากจนจริงๆ บนรถ มีผู้โดยสารจำนวนมาก เด็กหญิงคนนี้ ดูจะเกรงใจที่มาเบียดถูกฉัน เธอมือหนึ่ง จับอยู่ที่ พนักเก้าอี้ พยายามดันตัวออกห่าง ฉันอยากให้เธอนั่งลง แต่เก้าอี้นั่ง เวลานี้ นั่งอยู่สามคน ก็เบียดกันอยู่แล้ว จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะเพิ่มอีกคน ฉันจึงพยายาม ขยับตัว เพื่อให้เธอมีที่ยืนสบายขึ้น อีกมือช่วยเธอจับเข่งไว้ เพื่อจะได้ไม่กีดขวางทางเดิน เธอยิ้มให้ฉัน ด้วยความขอบคุณ เปิดฝาเข่งล้วงเอาผลไม้ ที่แท้คือ”ลูกมันฮ่อ”เต็มกำมือยัดใส่กระเป๋าฉัน ฉันพยายามปฏิเสธ แต่ไม่เป็นผล เธอมุ่งมั่นที่จะให้ฉันมาก ต่อมาเด็กหญิงค่อยๆคุ้นเคยกับฉัน จากภาษาถิ่นที่ฟังยาก ในที่สุด ฉันก็ฟังเข้าใจได้ว่า เธออายุย่าง สิบสี่แล้ว บ้านอยู่ไกลจากสถานีรถไฟหลายสิบลี้ รถยนต์เข้าไปไม่ถึงหมู่บ้าน จะขายของป่าทีไร ก็ต้องใช้เข่งแบกเดินเท้าเปล่าเข้ามาขายในเมือง ปีนี้ต้นมันฮ่อ ที่บ้าน ออกผลดกมาก แม่กำลังป่วย ต้องการเงินรักษา พ่อจึงให้เธอนำลูกมันฮ่อ ออกไปขายในเมือง เธอออกเดินทางจากบ้าน เมื่อเที่ยงคืนวานซืน เดินมา ตลอดวันจนมืด เมื่อคืนนอนพักอยู่ในถ้ำกลางทาง เช้านี้ ตื่นแต่เช้าเพื่อรีบเดินเท้ามาให้ทันขึ้นรถไฟขบวนนี้ ถ้าของขายหมดแล้วก็จะต้องเดินเท้าอีกหนึ่งวัน กับหนึ่งคืน จึงจะกลับถึงบ้าน“จากบ้านเดินทางไกลถึงเพียงนี้ เธอไม่กลัวหรือ?” ฉันถาม “หนูมีเพื่อน ตอนแย่งกันขึ้นรถไฟ เราแยกจากกันชั่วคราว เดี๋ยวลงจากรถไฟ เราก็พบกันอีก” เธอพูดด้วยความมั่นใจ“เดินทางมาตั้งไกล มันฮ่อเข่งหนึ่ง จะขายได้เงินสักเท่าไร” ฉันถาม “หักค่าตั๋วรถไฟไปกลับแล้ว คงเหลือสัก 15-16 หยวนมั้ง” เธอบอก“เรามีอาหารแห้งนำมาจากบ้านกัน”“อาหารแห้งอะไร?” ผู้โดยสาร อีกคนที่นั่งข้างฉันถาม “หนูกินไปแล้วส่วนหนึ่ง เหลืออีกส่วน ห่อไว้ที่ใต้เข่ง พ่อบอกว่า รอให้ขายของหมดแล้ว ค่อยกิน”เธอบอก “อาหารแห้งอะไร”ผู้โดยสารข้างฉัน ถามอีกครั้ง “ขนมย่างเป็นแผ่นทำด้วยหัวมัน” เธอตอบ ผู้โดยสารรอบข้างฟังแล้วเศร้า ขณะนั้น มีเสียงประกาศ จากลำโพงว่า รถไฟจะล่าช้า 30 นาที ฉันจึงถือโอกาสที่รถไฟจอดอยู่นั้น บอกผู้โดยสารในขบวนรถว่า ”เด็กหญิงคนนี้ มีมันฮ่อป่ามาขาย อร่อยดี พวกเราช่วยกันซื้อหน่อย” มีคนถามว่า “ขาย ชั่งละเท่าไหร่?” “อาม้าบอกว่าขาย 10 ผล 25 เซ็น ลดไม่ได้อีกแล้ว “ ฉันจึงพูดต่อว่า “ถูกจัง ที่บ้านเราขายชั่งละตั้ง 8 หยวน” ผู้โดยสารต่างมารุมซื้อ ฉันช่วยเด็กนับจำนวนผล ให้เธอเก็บเงิน ชั่วครู่เดียว มันฮ่อขายไปครึ่งเข่ง เธอบรรจงรวบรวมเศษเหรียญเก็บไว้ สีหน้าเต็มไปด้วยความดีใจ ไม่นานรถไฟ ก็มาถึงสถานี เด็กหญิงเตรียมตัวลงรถไฟ ฉันช่วยเธอยกเข่งใส่บ่า แล้วนำเสื้อกางเกงสีถั่วแดงชุดใหม่ ใส่ไว้ในเข่ง บอกเธอว่า “เป็นเสื้อกางเกงชุดใหม่ ที่ฉันซื้อ จะนำไปฝากหลานสาว มอบให้เธอนำไปใส่ที่บ้านหนึ่งชุด” เด็กหญิง เอียงคอมองด้วยความดีใจ ส่งยิ้มให้ฉันแสดงความขอบคุณ ขณะนั้นมีแรงงานชาวนาที่โดยสารมาในโบกี้เดียวกันสี่คน คนหนึ่งถือเงิน 50 หยวน ยื่นมือมาแต่ไกล ยัดใส่มือเด็กหญิงพูดว่า “น้อง พวกเรามีสัมภาระติดตัวเยอะ ไม่สามารถซื้อมันฮ่อ ของน้องได้จริงๆ เงินเล็กน้อยนี้ ให้เธอไว้ซื้อยาให้แม่” เด็กหญิงร้องให้ออกมา หน้าแดงก่ำ เธอไม่รู้จะกล่าวคำขอบคุณอย่างไร เด็กหญิง เบียดลงจากรถไฟแล้ว แต่ ยังไม่เดินจากไปทันที เธอเดินไปที่หน้าต่างรถไฟ ที่นั่งของแรงงานชาวนา ตะโกนเรียกคุณปู่…คุณปู่ เธอไม่รู้จะพูดต่ออย่างไร ได้แต่ร้องให้ ความจริงแรงงานชาวนา น่าจะอายุก็เพียงสี่สิบกว่า เรียกคุณปู่ ดูจะไม่สมกับวัย แล้วเธอก็หันมาที่หน้าต่างฉัน ตะโกนด้วยเสียงสะอื้น “คุณยายคะ….คุณยาย หนูชื่อ’ซานกว่า’ค่ะ เสื้อที่คุณยายให้ หนูจะยังไม่ใส่ หนูจะเก็บไว้ใส่ตอนหนูแต่งงานค่ะ” รถไฟค่อยๆเคลื่อนออกจากสถานี เด็กน้อยยังยืนอยู่ที่เดิม ฉันมองจนเธอและสถานีลับจากสายตา “ซานกว่า….ซานกว่า” เด็กหญิงน้อย ซื่อๆ ไร้เดียงสาชื่อ”ซานกว่า” กับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นี้ ยังเวียนวนอยู่ในสมองไม่จางหายของฉัน ฉันครุ่นคิด ครุ่นคิด ชีวิตชองฉันเทียบกับเด็กหญิง ครอบครัวของเขา กับฉัน มันช่างห่างไกลกัน ดั่งฟ้ากับดิน สิ่งที่ฉันครุ่นคิดตลอดมา อะไร คือ มาตรฐานความสมหวังในชีวิต ที่เดิมเลือนลางที่ไม่มีคำตอบ คราวนี้ ทำให้เกิดจิตสำนึกใหม่ขึ้นมาว่า ชีวิตของฉันที่ผ่านมา นั้น ฉันมีความสุข มีความสะดวก สบาย มีความสมหวัง มากกว่า ชานกว่า มากมายนัก ความทุกข์ที่เคยแบกมานาน สามารถวางลงได้หมดในครั้งนี้ ——จบ——ชึวิตคนบนโลกใบนี้ แท้จริง มีคนที่ได้รับความทุกข์ยาก ลำบากมากกว่าเราอีกมากมาย การที่เรา มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ต่อผู้อื่นที่ทุกข์ยากลำบากมากกว่า คือ การสร้างกุศลบุญบารมี ให้แก่ตัวเราเอง เพื่อเป็นเสบียงในการเดินทางไกล ในวัฏฏสงสาร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *