อดอาหารช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร

เป็นคำถามง่ายๆมาจากแฟนเพจ คำตอบสั้นๆคืออดอาหารไม่ช่วยลดน้ำหนัก ต้องพิจารณาด้วยว่าอดอาหารแบบไหน อดอาหารแล้วช่วงเลิกอดยังกินอาหารมากเกินไปหรือเปล่า ลองมาดูวิธีที่อดอาหารกันก่อน อดอาหารมีมากมายหลายแบบ ที่นิยมกันมากในปัจจุบันคือการทำไอเอฟ (IF หรือ Intermittent Fasting) ซึ่งหมายถึงอดอาหารเป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่อง การอดอาหารแบบรอมฎอนของอิสลามนับเป็นไอเอฟแบบหนึ่งเหมือนกันเนื่องจากอดอาหารกับกินอาหารสลับกันไปเป็นช่วงๆ การอดอาหารแบบไอเอฟมีหลายแบบที่นิยมกันมากคือแบบ 16/8 หรือในรอบ 24 ชั่วโมง อด 16 ชั่วโมง กิน 8 ชั่วโมง อดอาหารแบบนี้ยังเลือกได้ว่าจะกินช่วงไหน ที่นิยมกันคือ กินช่วง 7 โมงเช้าถึง 3 โมงเย็นรวม 8 ชั่วโมง จากนั้นอดอาหารตั้งแต่ 3 โมงเย็นถึง 7 โมงเช้า ดื่มได้แต่น้ำเปล่าช่วงอดอาหารทั้งแบบไอเอฟและแบบรอมฎอน ปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับลดลง ร่างกายเพิ่มการเผาผลาญ ระหว่างอดอาหาร ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตซีส มีการสลายไขมันที่สะสมไว้เพื่อสร้างเป็นพลังงาน หากร่างกายได้รับอาหารน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ น้ำหนักตัวย่อมลดลงเนื่องจากร่างกายนำพลังงานที่สะสมมาใช้ เมื่ออดอาหารไปสักระยะ น้ำหนักตัวเริ่มลดลง อธิบายได้ง่ายๆอย่างนั้น ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่าร่างกายได้รับพลังงานน้อยกว่าที่ร่างกายนำมาใช้ ผู้ที่ถือศีลอดแบบรอมฎอน น้ำหนักตัวอาจไม่ลดก็ได้ หากช่วงที่กินอาหาร เช่น ยามค่ำ กลับกินอาหารมากกว่าที่เคยกินตามปกติ นอกจากน้ำหนักตัวไม่ลดบางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเสียด้วยซ้ำจึงต้องระวังอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักตัวลดนอกเหนือจากภาวะคีโตซิสที่ร่างกายนำไขมันมาใช้ระหว่างการถือศีลอดคืออดแบบไอเอฟและรอมฎอน ร่างกายมีการเพิ่มการหลั่งโกรทฮอร์โมนหรือฮอร์โมนการเจริญเติบโต (HGH) ซึ่งช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อและส่งเสริมการสูญเสียไขมัน จึงช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง อีกประการหนึ่งคือการอดอาหารยังช่วยควบคุมระดับอินสุลินช่วยลดความเสี่ยงของภาวะดื้อต่ออินสุลินและลดโรคเบาหวานประเภทสอง การถือศีลอดแบบรอมฎอนให้ผลเช่นเดียวกัน โดยการเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอดอาหาร ร่างกายจะรับพลังงานจากการสลายโมเลกุลไกลโคเจนที่เก็บสะสมไว้ในกล้ามเนื้อและตับ นอกจากนี้ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะคีโตซีสและเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้เป็นพลังงานเหมือนกรณีไอเอฟ ซึ่งช่วยให้ลดน้ำหนักตัวส่วนเกินได้ในช่วงรอมฎอน ทั้งนี้ด้วยเงื่อนไขอย่างที่บอกนั่นคือต้องไม่บริโภคมากในช่วงเย็นหรือค่ำสรุปคือการอดอาหารแบบไอเอฟและรอมฎอนช่วยลดน้ำหนักตัวได้ด้วยกลไกการทำงานของฮอร์โมนดังกล่าว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรเข้าใจคือการออกกำลังกาย หากช่วงอดอาหาร เอาแต่นอนพักหรือทำกิจกรรมทางร่างกายน้อยลง โอกาสที่ร่างกายจะใช้พลังงานย่อมน้อยลงไปด้วย ไอเอฟและรอมฎอนลักษณะนี้ย่อมไม่ช่วยลดน้ำหนัก ทั้งยังอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นก็ได้ ระวังกันหน่อย #ดรวินัยดะห์ลัน, #drwinaidahlan, #ไอเอฟ, #รอมฎอน, #ลดน้ำหนักตัว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *