ผมมาพักที่โรงแรม Park Hyatt กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์

ประเทศนี้เป็นประเทศเล็กมีลักณณะเป็นคาบสมุทรยื่นเข้าไปในอ่าวเปอร์เซีย เป็นติ่งของคาบสมุทรอาราเบีย พื้นที่เพียง 11,581 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 2.8 ล้านคน จำนวนนี้เป็นคนอาหรับ 40% นอกนั้นเป็นคนงานมาจากที่อื่น คนที่นับเป็นประชากรกาตาร์มีเพียง 10% สิ่งที่ควรรู้คือประเทศนี้มีรายได้ต่อหัวประชากรสูงถึง 83,000 เหรียญสหรัฐ สูงเป็นอันดับสองของโลก กาตาร์เป็นหนึ่งในสมาชิก GCC กลุ่มประเทศความร่วมมือรอบอ่าวที่มี 6 ประเทศ ในบรรดา 57 ประเทศสมาชิก OIC หรือกลุ่มความร่วมมือโลกอิสลาม ประเทศที่นับว่าพัฒนาแล้วคือมี GDP ต่อหัวเกิน 15,000 เหรียญสหรัฐต่อปี มีเฉพาะกลุ่ม GCC เท่านั้น และกาตาร์อยู่หัวแถวสุด GCC ทั้งกลุ่มจู่ๆมีปัญหาถึงขนาดตัดสัมพันธ์กับกาตาร์ เพิ่งกลับมาคืนดีกันเมื่อไม่นานมานี้เอง โกรธกันอยู่ไม่กี่ปี แต่กาตาร์ก็อยู่มาได้ ไม่ต้องแคร์ใครสักเท่าไหร่ เพราะพร้อมไปด้วยทรัพยากรและความมั่งคั่งผมมาเยือนกาตาร์ครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม โดยสองครั้งแรกมาเยือนนานเกินสิบปีแล้ว มาครั้งนี้กาตาร์เปลี่ยนแปลงไปมาก ร่ำรวยและเจริญขึ้นมาก ทรัพย์ที่มากที่สุดคือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่ก็เหมือนซาอุดีอาระเบีย ผู้ปกครองรัฐกาตาร์รู้ว่าทรัพยากรเหล่านี้ไม่จิรังมั่นคงถึงวันหนึ่งก็หมด กลุ่มประเทศ GCC มีแนวคิดเดียวกันคือต้องทำให้ประเทศยืนอยู่ได้ด้วยทรัพยากรอื่นที่จิรังกว่า นั่นคือการพัฒนานวัตกรรม การสร้างธุรกิจการค้า การปรับเปลี่ยนประเทศเข้าสู่กรอบคิดใหม่ ทรัพยาการสำคัญสุดคือประชากร รัฐบาลจึงเร่งพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมอย่างมาก นั่นเองที่หลายประเทศหันมามองงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าโดดเด่นที่สุดงานวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาขึ้นเวลานี้เป็นเสมือนทูตวัฒนธรรม เป็นคล้ายซอฟท์พาวเวอร์ไม่ต่างจากวอลเลย์บอลของทีมสาวไทยที่ใครๆอยากสัมผัส ตั้งแต่ต้นปีมานี้ ผมเดินสายบรรยายงานวิทยาศาสตร์ฮาลาลมากว่าสิบประเทศทั้งยุโรป เอเชีย ตะวันออกกลาง เดินทางไปอินโดนีเซียหลายรอบ ประชุมออนไลน์กับมาเลเซียหลายครั้ง งานของศูนย์ก้าวขึ้นไปสู่ระดับบล็อกเชน จะค่อยๆทะยอยเขียนให้พวกเราอ่านก็แล้วกัน #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #qatar, #วิทยาศาสตร์ฮาลาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *