น้ำตาลทรายและไซรัปฟรุคโตสก่อโรคอ้วนอย่างไร ตอนที่ 1

โรคอ้วนหมายถึงสัดส่วนระหว่างน้ำหนักตัวคิดเป็นกิโลกรัมต่อส่วนสูงคิดเป็นเมตรยกกำลังสองมีค่าเกิน 30 อันที่จริงค่าเกิน 25 ก็ถือว่าอ้วนแล้วแต่ยังไม่ถึงขนาดโรคอ้วน ใครเป็นโรคอ้วนเกิดโรคสารพัดตามมาทั้งเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ข้อเข่าเสื่อม ฯลฯ รวมเรียกว่าโรคเมแทบอลิก ช่วงโก-วิดระบาดหนัก ผู้ติดเชื้อหากเป็นโรคอ้วน โอกาสเสียชีวิตก็สูงขึ้น โรคอ้วนจึงสร้างปัญหาทับถมเข้าไปอีก ไม่อยากอ้วน แนะนำให้ลดการบริโภคหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหวานจากน้ำตาลทรายและน้ำตาลฟรุคโตสไซรัปที่เรียกกันว่า HFCS (High Fructose Corn Syrup) มีคำถามอยู่บ่อยว่าเหตุใดน้ำตาลทรายและ HFCS จึงก่อโรคอ้วน คำถามนี้มีรายงานวิจัยทางการแพทย์ให้คำตอบไว้มาก ขอนำมาสรุปไว้ตรงนี้ก็แล้วกันน้ำตาลทรายคือซูโครส (Sucrose) เมื่อถูกย่อยในทางเดินอาหารกลายเป็นน้ำตาลเดี่ยวสองตัวคือกลูโคส (Glucose) และฟรุคโตส (Fructose) น้ำตาลเดี่ยวสองตัวนี้ก่อปัญหาโรคอ้วนทั้งคู่ HFCS เองมีองค์ประกอบเป็นกลูโคสและฟรุคโตสไม่ต่างกันจึงก่อปัญหาโรคอ้วนเช่นเดียวกัน มากกว่าน้ำตาลทรายเสียด้วยซ้ำเนื่องจากย่อยและดูดซึมง่ายกว่ากลูโคสเมื่อเข้าร่างกายอย่างรวดเร็วกระตุ้นให้ตับอ่อนสร้างอินสุลิน กระตุ้นการนำน้ำตาลเข้าเซลล์เพื่อย่อยสลายเป็นพลังงาน หากพลังงานมากเกินไปร่างกายย่อมนำไปสะสมในรูปไขมัน สำหรับฟรุคโตส การเข้าสู่เซลล์ไม่ต้องใช้อินสุลิน หากบริโภคมากเกินไป ฟรุคโตสผ่านเข้าสู่สมองเข้าไปรบกวนการทำงานของสมองส่วนไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ดุลของสารกึ่งฮอร์โมนตัวเล็กๆหลายตัวบริเวณนี้ ได้แก่ -MSH, NPY, AgRP เกิดการแปรปรวนกระทั่งเข้าไปรบกวาน สวิทซ์หิว (Satiety switch) หรือ Melanocortin receptor 4 (MC4 receptor) บริเวณไฮโปธาลามัส จนทำงานไม่ได้ นำไปสู่ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนเล็พติน (Leptin) ที่ทำหน้าที่ปิดสวิทซ์หิว เมื่อฮอร์โมนทำงานไม่ได้ ย่อมหิวบ่อยไม่ยอมหยุดหิว นี่เองที่ก่อปัญหาโรคอ้วนเมื่อสวิทซ์หิวปิดไม่ได้เนื่องจากเกิดภาวะดื้อต่อเล็พติน ร่างกายเกิดอาการติดกับดักภาวะสะสมพลังงาน โดยพลังงานที่ร่างกายสร้างขึ้นจากกลูโคสไม่ถูกนำไปใช้ทว่าถูกนำไปสะสมเป็นไขมัน ร่างกายยังคงหิว สมองจึงหลั่งฮอร์โมน Orexin A ซึ่งสั่งการให้ร่างกายหาอาหาร คนอ้วนจึงกินไม่ยอมหยุดเนื่องจากไม่รู้สึกอิ่ม คำอธิบายนี้เป็นงานวิจัยของ Ozcan Lale แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา และทีมงาน ผลงานตีพิมพ์ในวารสาร Cell Metab 2009 9:35-51 ลองไปหาอ่านเอา ยังมีอีกหนึ่งกลไกสำหรับฟรุคโตสที่ก่อปัญหาโรคอ้วน จะเขียนให้อ่านในตอนที่ 2 #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #ฟรุคโตสกับโรคอ้วน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *