การพัฒนาอารยธรรม คำตอบอยู่ที่โภชนาการ

ครั้งนี้ขอคุยเรื่องสังคมวิทยาผสมวิทยาศาสตร์สักหน่อย ว่ากันด้วยเรื่องการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์ที่สร้างความแตกต่างอย่างมหาศาลจากสิ่งมีชีวิตอื่น จะว่าเป็นผลจากพันธุกรรมก็ไม่ใช่ เนื่องจาก 90% ของพันธุกรรมมนุษย์ไม่ต่างจากสัตว์หลายประเภท ทั้งใกล้เคียงกับชิมแปนซีถึง 99% สิ่งที่ทำให้มนุษย์พัฒนาสติปัญญาได้ห่างชั้นจากสัตว์ทุกชนิดคือ “โภชนาการ” มนุษย์ได้รับสารอาหารที่สมดุลและครบถ้วนมากกว่าทำให้พัฒนาสติปัญญาไปได้มากกว่า การที่มนุษย์รู้จักสร้างและใช้ไฟปรุงอาหารเป็นผลให้มนุษย์พัฒนาขนาดสมองและสติปัญญามากยิ่งขึ้นไปอีก สรุปเอาเป็นว่าโภชนาการนั่นแหละคือคำตอบพูดกันมานานว่าโภชนาการจากการปรุงอาหารส่งผลให้มนุษย์ได้รับปริมาณและคุณภาพของสารอาหารที่ดีขึ้นมากนำไปสู่การพัฒนาทางสติปัญญาของมนุษย์ เป็นผลให้เกิดการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์ พูดอย่างนี้ เชื่อแบบนี้มานาน จำเป็นต้องหาข้อพิสูจน์ ดร.ราเชล คาโมดี (Rachel Carmody) แห่งภาควิชาชีววิทยาด้านวิวัฒนาการมนุษย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาในหนูทดลองกระทั่งได้ข้อสรุปตีพิมพ์ในวารสาร Genome Biol Evol ฉบับเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 ระบุว่าการปรุงอาหารมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของสารอาหารที่ร่างกายได้รับจริง กระทั่งนำไปสู่การพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์การวิจัยใช้หนูทดลองแบ่งเป็นสี่กลุ่ม เลี้ยงด้วยอาหารสี่อย่างที่ให้พลังงานเท่ากัน กลุ่มแรกเลี้ยงด้วยอาหารดิบ กลุ่มที่สองอาหารดิบและบด กลุ่มที่สามอาหารปรุงสุก กลุ่มที่สี่อาหารปรุงสุกและบด เลี้ยงนานสี่สิบวัน ศึกษาการพัฒนาผ่านน้ำหนักตัวและพฤติกรรมการถีบจักร พบว่าหนูกลุ่มที่สี่เติบโตมากที่สุด ได้รับพลังงานสูงที่สุด มีพัฒนาการมากที่สุด ถัดลงมาคือหนูกลุ่มที่สาม สองและหนึ่งตามลำดับ สรุปว่าการปรุงอาหารช่วยให้พลังงานและสารอาหารจำนวนมากถูกปลดปล่อยออกจากเซลล์อาหาร การปรุงด้วยความร้อนและการบดช่วยให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น หนูพึงพอใจมากขึ้น ได้รับโภชนาการครบถ้วนขึ้น พัฒนาการทางสติปัญญาจึงเกิดขึ้นได้มากกว่ามนุษย์เองเมื่อรู้จักปรุงอาหารด้วยไฟและความร้อน รู้จักปรุงแต่งรสชาติ ส่งผลให้สติปัญญาพัฒนาขึ้น กระทั่งสามารถทำเกษตรกรรมและเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ ร่างกายและสมองมีขนาดใหญ่ขึ้น พัฒนาการยิ่งมีมากขึ้น นับตั้งแต่การพัฒนาด้านการปรุงอาหารเมื่อหลายหมื่นปี มนุษย์เริ่มพัฒนาการเกษตรกรรมเมื่อหมื่นปีที่แล้วกระทั่งเริ่มสร้างอารยธรรมเมื่อไม่กี่พันปีมานี้ ขนาดของร่างกายและอวัยวะรวมถึงความเฉลียวฉลาดเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ความก้าวหน้าเหล่านี้จึงไม่ใช่ผลจากพันธุกรรมหรือ genetics ทว่าเป็นอิทธิพลนอกพันธุกรรมที่เรียกว่า epigenetics สังคมและสิ่งแวดล้อมจึงสำคัญกว่าพันธุกรรมเสมอ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนั้น ใครที่เอาแต่กล่าวโทษพันธุกรรมลิขิตและพรหมลิขิตสมควรหันมาเร่งพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมของตนเองได้แล้ว #ดรวินัยดะห์ลัน, #drwinaidahlan, #คำตอบของอารยธรรมอยู่ที่โภชนาการ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *