กลไกการใช้พลังงานที่ผิดปกติของผู้ป่วยโรคอ้วน

โรคอ้วน (Obesity) เคยบอกไว้แล้วว่าคือคนที่มีดัชนีมวลกายเกินค่า 30 สิ่งที่นักโภชนาการอยากรู้ในเวลานี้คือกลไกทางเมแทบอลิซึมในร่างกายของคนเป็นโรคอ้วนแปรเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อเทียบกับคนปกติ แพทย์และนักโภชนาการยังขาดความเข้าใจกลไกทางเมแทบอลิซึมในร่างกายที่ว่านี้ จึงทำให้การดูแลผู้ป่วยโรคอ้วน ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง กระทั่งจำเป็นต้องเสาะแสวงหาวิธีที่เรียกว่า tailored-made หรือปรับกระบวนการรักษาเป็นรายบุคคล ซึ่งทำให้การดูแลรักษาโรคอ้วนยุ่งยากขึ้น อย่ากระนั้นเลย ลองหันมาศึกษากลไกทางเมแทบอลิซึมขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยกันใหม่จะดีกว่ามีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oregon Health & Science University ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2023 เนื้อหาน่าสนใจ จะบอกว่าเป็นข้อมูลที่พบใหม่ก็ไม่น่าจะใช่ เนื่องจากเคยมีรายงานเรื่องนี้มาแล้ว ทีมวิจัยศึกษาในคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ มีสุขภาพดี พบว่าคนเหล่านี้ ร่างกายใช้พลังงานจากสารอาหารให้พลังงานเป็นปกติ หากออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรม ร่างกายก็ใช้พลังงานมากขึ้น ในยามนอนหลับ กลไกการใช้พลังงานลดลง ซึ่งเป็นกลไกปกติอยู่แล้ว ส่วนที่น่าสนใจคือผู้ป่วยโรคอ้วนต่างหาก งานวิจัยทำการศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 30 คน กลุ่มคนอ้วนที่ให้ทำกิจกรรมไม่แตกต่างจากคนปกติ ปรากฏว่าร่างกายใช้พลังงานต่ำกว่าคนปกติ ขณะที่ยามนอนหลับร่างกายกลับใช้พลังงานมากกว่า สิ่งที่พบคือปริมาณฮอร์โมนอินสุลินในเลือดของผู้ป่วยโรคอ้วนมีระดับค่อนข้างสูงซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยโรคอ้วนมีปัญหาทางเมแทบอลิซึมด้านการใช้น้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคอ้วนร่างกายอาจมีปัญหาเรื่องภาวะดื้อต่ออินสุลิน ในเมแทบอลิซึมลักษณะเดียวกับคนปกติ ร่างกายผู้ป่วยโรคอ้วนใช้อินสุลินมากกว่า ยามนอน ฮอร์โมนอินสุลินทำงานสลับด้านทำให้ร่างกายสะสมไขมันได้มากกว่า คนอ้วนที่ถึงระดับร่างกายเริ่มดื้อต่ออินสุลินจึงลดความอ้วนได้ค่อนข้างยาก จำเป็นต้องลดอาหารที่ใช้อินสุลินอย่างเช่นน้ำตาลลงให้มาก ทั้งออกกำลังกายให้มากกว่าปกติ เพื่อหาทางลดน้ำหนักตัวลงให้ได้ทีมวิจัยเชื่อว่ากลไกนาฬิกาชีวิต Circadian clock ที่อยู่ในสมอง เกี่ยวข้องกับการกลไกการควบคุมการใช้พลังงานในร่างกาย โดยควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหิวหรือ Ghrelin ที่สร้างจากกระเพาะ ฮอร์โมนอิ่มหรือ Leptin ที่สร้างจากเนื้อเยื่อไขมัน ฮอร์โมนควบคุมกลไกการออกหาอาหารหรือฮอร์โมน Orexin A ที่สร้างจากสมอง และฮอร์โมนอินสุลินที่ดึงน้ำตาลไปใช้ซึ่งสร้างจากตับอ่อน นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนตัวเล็กๆอีกหลายตัว การทำงานประสานกันไปมาของฮอร์โมนเหล่านี้เกิดความผิดปกติในกรณีเกิดโรคอ้วน ดังนั้น ต้องหาทางทำให้กลไกทางเมแทบอลิซึมในร่างกายกลับมาเป็นปกติให้ได้ก่อน ต้องเริ่มด้วยการหาทางลดน้ำหนักตัวลง แนะนำกันง่ายๆแต่ปฏิบัติกันได้ไม่ง่ายอย่างนั้น #ดรวินัยดะห์ลัน, #drwinaidahlan, #obesity, #circadianclock

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *