ทุกปีในเดือนธันวาคม ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย (สมฮท.) จัดงาน THA ปีนี้เป็นการจัดครั้งที่ 7 ซึ่งครอบคลุมการจัดประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลครั้งที่ 13 นั่นคืองาน HASIB และงาน IHSATECงาน THA2020 สโลแกนหรือคำขวัญคือ “Halal Sphere: An Ecologic-Economic Equity Concept of Halal” แปลเป็นไทยว่า “ฮาลาลสเฟียร์ แนวคิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจเชิงนิเวศน์ฮาลาล” ฟังแล้วอาจสับสนเพราะเป็นเรื่องใหม่จึงขออธิบายไว้ ณ ที่นี้ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า Halal Sphere ให้พวกเราเข้าใจกันก่อน พอได้ยินกันบ้างคือ Halal Environment หมายถึงสิ่งแวดล้อมฮาลาลทั้งหมดเหมือนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมุสลิมในประเทศมุสลิมเคร่งครัดทั้งหลาย สินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการทั้งหลายในท้องตลาดฮาลาลทั้งหมด เป็นฝันที่มุสลิมทุกคนอยากให้เป็นแต่ Halal Sphere นั้นต่างออกไป สังคมอย่างในประเทศไทยสร้าง Halal Environment ไม่ได้ แต่จะเป็นบรรยากาศที่แวดล้อมด้วยสิ่งฮาลาลโดยมีสิ่งที่อาจหะรอมสอดแทรกอยู่ ทว่าสิ่งหะรอมเหล่านั้นไม่ไม่สร้างปัญหา โดยสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งฮาลาลได้อย่างกลมกลืนตัวอย่างเช่นในสังคมมียาที่แม้มีส่วนผสมที่ต้องสงสัย เช่น แอลกอฮอล์ หรือองค์ประกอบจากสัตว์ ทว่าอยู่ในสถานะฎารูเราะฮฺ หรือจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีสิ่งใดทดแทน องค์กรศาสนาอิสลามตัดสินแล้วว่าไม่ก่อปัญหาต่อศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์หรือองค์ประกอบจากสัตว์ หลายสิ่งที่หะรอมอย่างชัดเจนถูกแยกออกจากฮาลาลด้วยวิธีการควบคุมที่ได้รับการยอมรับ เช่น แยกเก็บ แยกขาย แยกขนส่ง แยกจำหน่ายหะรอมแม้มีในสังคมจึงไม่สร้างปัญหาในการบริหารจัดการนั้นมิไดคำนึงเฉพาะหลักการศาสนาแต่ยังเผื่อแผ่ประโยชน์ไปยังระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจ ให้เกิดดุลยภาพระหว่างกัน นิเวศน์นี้ครอบคลุมถึงสังคม จริยธรรม ศาสนา พร้อมกันไปด้วยสังคมที่ทุกสิ่งฮาลาลใช่ว่าดี ผิดเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺที่ทรงสร้างทุกสิ่งอย่างมีดุลยภาพ ผสมผสานสิ่งดีกับสิ่งที่เป็นปัญหาให้อยู่ร่วมกันโดยสิ่งที่เป็นปัญหาที่มีอยู่ถูกควบคุมกระทั่งไม่ก่อปัญหาตัวอย่างของดุลยภาพ ดังเช่น ในทางเดินอาหาร กระเพาะไปจนถึงลำไส้ใหญ่ หากสะอาดเกลี้ยงเกลาปราศจากเชื้อก่อ(ดรคกลับกลายเป็นว่าคนเราจะป่วยบ่อย แต่เป็นเพราะในทางเดินอาหารมีแบคทีเรียประเภทโปรไบโอติกส์ที่ก่อประโยชน์อาศัยอยู่ แบคทีเรียกลุ่มนี้คอยควบคุมไม่ให้แบคทีเรียก่อโรคสร้างปัญหา นี่คือดุลยภาพ ที่เกิดขึ้น ใช้คำว่า Equityในป่า มีฝูงสุนัขป่าดุร้ายที่ก่อปัญหาคร่าชีวิตสัตว์อื่น หากทำลายฝูงสุนัขป่าจนหมด สัตว์กินใบไม้ที่เคยเป็นเหยื่อสุนัขป่าจะขยายพันธุ์ ทำลายใบไม้กระทั่งฝูงแมลงอยู่ไม่ได้จึงหายไป ฝูงนกที่มีชีวิตจากการมีอยู่ของแมลงจะค่อยๆทิ้งป่า กลายเป็น silent forest ป่าที่เงียบงัน ระบบนิเวศน์พังทลายแม้มนุษย์เองก็อยู่ไม่ได้ การดูแลป่าจึงมิใช่ทำบายสัตว์ก่อปัญหา แต่ให้สัตว์แต่ละชนิดรวมถึงพืชอยู่ร่วมกันได้ Natural หรือ Spherical equity ที่สร้างดุลยภาพในโลกทรงกลมจึงเป็นเรื่องสำคัญ Halal Sphere จึงไม่ใช่จะต้องมีแต่ฮาลาล ทว่าทั้งฮาลาลและหะรอมจะต้องดำรงอยู่ร่วมกันได้โดยฮาลาลไม่สร้างปัญหาต่อหะรอมและหะรอมไม่สร้างปัญหาต่อฮาลาล โดยฮาลาลต้องเอื้อต่อเศรษฐกิจและการเอื้อนั้นต้องเป็นไปเพื่อยังประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ จิตวิญญาณ จริยธรรมของผู้อยู่อาศัยในระบบทุกคนจะเห็นว่าระบบอิสลามสอดคล้องกับสังคมไทย ต้องตรงกับพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ว่า “ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองเป็นปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้” อัลฮัมดุลิลลาฮฺหมายเหตุ งาน THA2020 จัดวันที่ 22-23 ธันวาคม 2563