สรรพรสเรื่องราวของ “สับปะรด”

คำไทยที่มักใช้กันผิด มีทั้งเขียนผิด และพูดผิดมีอยู่หลายคำ คำเขียนผิดที่พบบ่อยเห็นจะเป็นคำว่า “อนุญาต” ที่คนจำนวนไม่น้อยเขียนผิดเป็น “อนุญาติ” ครูภาษาไทยสมัยเรียนมัธยมเคยบอกว่าอนุญาติหมายถึงญาติที่เป็นอนุภรรยา ใครเขียนอนุญาตเป็นอนุญาติแสดงว่าชอบนำญาติมาเป็นอนุ ตั้งแต่ครูบอกวันนั้น พวกเราไม่มีใครเขียนคำว่าอนุญาตผิดอีกเลย อีกคำหนึ่งที่ใช้ผิดกันบ่อยโดยเป็นการใช้ผิดในลักษณะภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียนนั่นคือคำว่า “สรรพรส” ที่มักพูดผิดเป็น“สับปะรด” แทนที่จะพูดว่าผลงานไม่เป็นสรรพรส กลับพูดว่าผลงานไม่เป็นสับปะรด นั่นเป็นการพูดผิดลองมารู้จักสับปะรดกันหน่อย สับปะรดเป็นผลของพืชที่นำมาใช้เป็นทั้งผักและผลไม้ขึ้นอยู่กับวิธีนำมาบริโภค คนไทยกินสับปะรดเป็นผลไม้ แต่บางครั้งยังนำมาใช้เป็นผักอย่างเช่นทำเป็นแกงคั่วสับปะรด หรือนำมาจิ้มกับน้ำพริก คนบางชาติอย่างอินเดียและอาหรับนิยมกินสับปะรดเป็นผักโดยกินสดๆกับข้าวหรือโรตีหรือจาปาตี บางครั้งนำมาผสมลงในแกงบางชนิด เห็นสับปะรดแล้วอาจเข้าใจว่าเป็นผลไม้ท้องถิ่นของเอเชียอาคเนย์เพราะปลูกกันมากในภูมิภาคบ้านเรา อันที่จริงสับปะรดมีพื้นเพมาจากอเมริกากลาง โดยเริ่มเข้าไปเผยแพร่ในยุโรปหลังจากคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบอเมริกา ภายหลังจึงนำไปปลูกตามดินแดนต่างๆที่เป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก จากนั้นจึงกระจายไปทั่วทั้งโลกสับปะรดให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากเพราะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิดเป็นต้นว่ามีน้ำตาลที่เป็นคาร์โบไฮเดรต มีใยอาหารค่อนข้างสูง มีโปรตีนอยู่เล็กน้อย ไม่พบว่ามีไขมันหรือมีก็ค่อนข้างน้อย มีสารไฟโตนิวเทรียนท์อย่างเช่นพวกแคโรตินอยด์ที่เป็นสารสีเหลืองและสีส้ม ให้วิตามินหลายตัว ได้แก่ วิตามินซี วิตามินบี มีแร่ธาตุเป็นองค์ประกอบอยู่สูง เช่น โปตัสเซียมที่มีสูงมาก ทั้งยังมีเอนไซม์ที่เป็นประโยชน์บางตัวอย่างเช่นโบรมีเลน (Bromelain) ช่วยป้องกันอาการอักเสบและช่วยย่อยโปรตีนซึ่งคล้ายมะละกอที่มีเอนไซม์ปาเปน (Papain) สับปะรดจึงช่วยกำจัดสิ่งตกค้างในลำไส้ไม่ให้หมักหมม ช่วยลดการทำงานของตับไตได้สารอาหารตัวที่สำคัญอย่างเช่นสับปะรดขนาดหนึ่งถ้วยให้น้ำตาลอย่างฟรุคโตสซึ่งให้พลังงาน 80 แคลอรีช่วยสร้างพลังงานได้เร็ว ให้ใยอาหาร 2.3 กรัมซึ่งช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด แคโรทีนอยด์ช่วยบำรุงสายตาและช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ ตัวสำคัญคือโปตัสเซียมซึ่งช่วยลดความดันโลหิตได้ดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดข้อควรระวังสำหรับสับปะรอดคือคนที่กินยาประเภทเบต้าบล็อกเกอร์ใช้ลดความดันโลหิต ยาประเภทนี้ทำให้โปตัสเซียมในเลือดสูงขึ้นหากกินสับปะรดมากเกินไปจะยิ่งทำให้โปตัสเซียมในเลือดสูงยิ่งขึ้นอาจสร้างปัญหาให้กับไตได้จึงต้องระวังกันหน่อย ต้อง #หาความเป็นสรรพรสของสับปะรดให้เจอ#drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *