ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) จับมือสำนักงานการอาชีวศึกษาเปิดสอนวิทยาศาสตร์ฮาลาลใน 47 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

วันที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ณ กระทรวงศึกษาธิการ ศวฮ.ผนึกกำลัง“อาชีวศึกษา” และ “คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” ลงนามความร่วมมือยกระดับหลักสูตรอาชีวะโดยเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ฮาลาลหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติด้วยเศรษฐกิจฮาลาล“สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” ร่วมกับ “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” และ “สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนาเนื้อหารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าตามมาตรฐานฮาลาล อันก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล เพื่อสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติด้วยเศรษฐกิจฮาลาลได้ โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้​รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยี วิจัย และสร้างนวัตกรรมฮาลาล พัฒนารายวิชา และจัดการบริการวิชาการ โดยดำเนินงานใกล้ชิดกับชุมชนมีประสบการณ์ในการจัดสร้างหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการผลิต ผลิตภัณฑ์เกษตรและสินค้าฮาลาล สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล และราชทัณฑ์ฯ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกซึ่งการตกลงทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 3 หน่วยงาน อันได้แก่ “สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” ร่วมกับ “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” และ “สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” เป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากงานวิจัย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหาร การจัดการ และการควบคุมการผลิตตามมาตรฐานฮาลาลได้อย่างถูกต้อง สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาชีพ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงานอย่างแท้จริง และการร่วมมือครั้งนี้ยังเป็นประโยชน์ในการร่วมกันพัฒนาเนื้อหารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าตามมาตรฐานฮาลาล อันก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล ซึ่งจะสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติด้วยเศรษฐกิจฮาลาลนั่นเอง รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #วิทยาศาสตร์ฮาลาล, #อาชีวศึกษา, #คุณหญิงกัลยาโสภณพณิช, #กระทรวงศึกษาธิการ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *