ผลงานนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสองชิ้นของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลระดับนานาชาติที่มาเลเซีย

นวัตกรรมชุดตรวจสอบเนื้อสัตว์ต้องห้ามแบบรวดเร็วในอาหารฮาลาล ได้รับเหรียญทอง ในเวทีนานาชาติ งาน The 34th International Invention, Innovation & Technology Exhibition (ITEX 2023) ณ KLCC Convention Centre กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ​มาเลเซีย​ และผลงาน ฟิล์มใสลดสิวชนิดเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบนผิวจากสารสกัดเปลือกกล้วยหอมทองปทุม​ ได้เหรียญเงินระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2566 ตัวแทนจากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านงานวิจัยและนวัตกรรมฮาลาล พร้อมด้วยนางสาวบัดดารีหย๊ะ​ โส๊​ะ​สัน​สะ​ นางสาวนารีญา วาเล๊าะ​ และนายอาณกร เรืองปราชญ์​ เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ในเวทีนานาชาติงาน The 34th International Invention, Innovation & Technology Exhibition (ITEX 2023) ณ KLCC Convention Centre กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ​มาเลเซีย​ ซึ่งศวฮ.ร่วมส่งผลงานร่วมประกวด 2 ผลงาน โดยได้รับเหรียญทองและเหรียญเงินตามลำดับผลงานเหรียญทองได้แก่ “ชุดตรวจสอบสัตว์ต้องห้ามแบบรวดเร็วในผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล (Rapid Test Kit on Non-Halal Animal in Halal Food Production) ซึ่งเป็นผลงานร่วมวิจัย ระหว่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ กับภาคเอกชน (บริษัททาเลโนเมะ ดีเอ็นเอ โปรเฟสชั่นแนล) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)” โดยมี ศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูล เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ในการนำเสนอผลงานครั้งนี้มี ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์และนายอาณกรเรืองปราชญ์ เป็นตัวแทนทีมวิจัยร่วมนำเสนอผลงานภายในงานดังกล่าว โดยทีมวิจัยประกอบไปด้วย ศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูล ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ ดร.มงคล เวสารัชเวศย์ ดร.พรพิมล มะหะหมัด นายธีระรักษ์ ศรีนวลกราย นายอาณกร เรืองปราชญ์ นางสาวซูไหวน๊ะ สะอิ นางสาวต่วนยัสมีน แซแร และรศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน“ชุดตรวจสอบการปลอมปนเนื้อสัตว์ต้องห้ามในอาหารฮาลาลแบบฉับไว ใช้งานง่าย ได้ผลแม่นยำ ตรวจหาดีเอ็นเอสัตว์ได้ถึง 5 ชนิด (สุกร สุนัข แมว หนู และลิง) พร้อมกัน ในการตรวจเพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ตรวจที่หน้างานได้ (onsite) และสามารถลดต้นทุนในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้ประกอบการได้”ผลงานเหรียญเงินได้แก่ ฟิล์มใสลดสิวชนิดเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบนผิวจากสารสกัดเปลือกกล้วยหอมทองปทุม​ (Anti​acne-film forming solution from Hom Thong Pathum Banana peel extracts)​ ซึ่งมีนางสาวบัดดารีหย๊ะ​ โส๊​ะ​สัน​สะ​ เป็นหัวหน้าโครงการ และมีนางสาวนารีญา วาเล๊าะ เป็นผู้ร่วมนำเสนอผลงานในครั้งนี้ มีคณะวิจัยประกอบด้วย นางสาวบัดดารีหย๊ะ โส๊ะสันสะ นางสาวนารีญา วาเล๊าะ ดร. อัซอารีย์ สุขสุวรรณ นางฟิรดาว บุญมาเลิศ ดร.เกษิณี เกตุเลขา นางสาวซูไนนี มาหะมะนางสาวซูไวบ๊ะ สุหลง และ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน “ฟิล์มใสแบบใหม่ที่มีสารสกัดจากเปลือกกล้วยหอมทองปทุมซึ่งเป็นพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่มีปริมาณฟินอลิกรวมสูง สามารถช่วยลดสิว ลดการอักเสบและรอยแดงได้ และยังมีส่วนผสมที่เป็นฮาลาล 100% โดยประยุกต์ใช้ระบบฐานข้อมูลวัตถุดิบฮาลาล ( H-number) “นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสต้อนรับ นางสาวลดา ภู่มาศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่ได้มาเยี่ยมบูทของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ โดยคณะตัวแทนได้ให้ข้อมูลงานวิจัย และพันธกิจของศวฮ.ให้แก่ ท่านออท.ทราบโดยเบื้องต้น สำหรับพิธีการมอบเหรียญทอง จะมอบคืนนี้ และพิธีมอบเหรียญเงินและเหรียญทองแดงจะทำการมอบในวันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม 2566 ซึ่งในวันนี้ ได้รับมอบใบ certificate award จาก นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ อีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *