นบีมุฮัมมัด (ศอลฯ) พลังละมุนแห่งอิสลาม ตอนที่ 28 มองสิทธิสตรีมุสลิมผ่านพระนางอาอีซะฮฺ ตอนที่ 2

มีนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกผู้มีจิตใจเป็นธรรมหลายท่านช่วยเขียนแก้ต่างเรื่องท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แต่งงานกับพระนางอาอีซะฮฺซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ.623 ที่ว่าพระนางเพิ่งอายุเพียง 6 ขวบว่าไม่เป็นความจริง ทั้งระบุว่าข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนี้ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มที่ต่อต้านอิสลามเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 11 เมื่อครั้งสงครามครูเสดครั้งที่ 1 เป็นผลมาจากภาวะกลัวอิสลามหรือ Islamophobia ที่เริ่มนับแต่วาระนั้นลากยาวมาจนกระทั่งปัจจุบันการดิสเครดิตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของบุคคลหรือฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่เรื่องใหม่ การกระทำที่พบบ่อยคือทำลายจุดที่แข็งที่สุดนั่นคือชื่อเสียงและภาพลักษณ์เพื่อบั่นทอนความน่าเชื่อถือของบุคคลหรือกลุ่มชนจากนั้นจึงทำลายตัวตน กรณีอิสลาม จุดแข็งที่สุดคือตัวท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่เป็นเอกบุรุษหาผู้เทียบเคียงได้ยาก วิลเลียม มอนต์โกเมอรี วัตต์ (W. Montgomery Watt ค.ศ.1909-2006) นักประวัติศาสตร์ชาวสก็อตต์ เขียนไว้ว่าในบรรดาบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไม่มีใครอีกแล้วที่ถูกปองร้ายเท่ามุฮัมมัด ศาสดาแห่งอิสลาม ปองร้ายทั้งในอดีตเรื่อยมาจนปัจจุบัน หนึ่งในเรื่องปองร้ายที่พบบ่อยคือความใคร่ต่อเด็ก (Paedophile) โดยยกกรณีการแต่งงานกับพระนางอาอีซะฮฺโดยระบุว่าเธอเป็นเหยื่อที่มีอายุเพียงหกขวบ กลายเป็นตัวอย่างที่ถูกใช้กันมาโดยตลอด วัตต์กล่าวว่ามุสลิมจำนวนไม่น้อยนอกจากไม่แสวงหาข้อเท็จจริง ยังเชื่อและนำไปอ้างอิง ทั้งๆที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมในอิสลามที่ว่าการแต่งงานในเวลาที่ยังไม่บรรลุวัยศาสนภาวะนั้นให้นับเป็นโมฆะ การแต่งงานของพระนางอาอีซะฮฺกับท่านนบีมุฮัมมัดเกิดขึ้นใน ค.ศ.623 หลังปีอพยพจากมักกะฮฺสู่มะดีนะฮฺหนึ่งปี ในเวลานั้นพระนางอายุเท่าไหร่ยากที่จะคาดเดา โดยเป็นไปได้ตั้งแต่ 9 ปีถึง 19 ปี ทว่านักประวัติศาสตร์ยุคใหม่จำนวนไม่น้อยเชื่อว่าพระนางอาอีซะฮฺถือกำเนิดใน ค.ศ.606 หมายถึงพระนางใน ค.ศ.623 มีอายุ 18 ปีนักประวัติศาสตร์บางท่านคำนวณอายุของพระนางอาอีซะฮฺโดยยึดรายงานหะดิษของอิหม่ามบุคอรีที่ว่าพระนางอาอีซะฮฺเล่าเองว่าเมื่ออัลกุรอานบทอัลเกาะมัรซึ่งเป็นบทที่ 54 ถูกประทานลงมา เวลานั้นพระนางยังเป็นเด็กในเมืองมักกะฮฺ ปีนั้นตามประวัติศาสตร์คือ ค.ศ.614 นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าพระนางถือกำเนิดใน ค.ศ.606 นอกจากนั้นข้อกล่าวหาในเรื่องความเป็นเด็กของพระนางอาอีซะฮฺในช่วงเวลาแต่งงาน หากพิจารณากันตามบุคลิกภาพของพระนางแล้ว นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่าอาจฟังดูไร้สาระเนื่องจากพระนางเป็นบุคคลที่ร่าเริง แจ่มใส ทั้งมีความเป็นผู้นำสูง ความเท่าเทียมที่อิสลามมอบให้แก่สตรีเทียบเคียงบุรุษเห็นได้ชัดเจนในตัวพระนางอาอีซะฮฺ ข้อกล่าวหาในลักษณะที่ว่าพระนางอาอีซะฮฺคือเหยื่อผู้ไร้เดียงสาจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #มุฮัมมัดพลังละมุนแห่งอิสลาม, #พระนางอาอีฮฺ, #aisyiyah

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *