เพลียง่วงกลางวันช่วงถือศีลอดเดือนรอมฎอนแก้ไขด้วยฆอยลูละฮฺ

มุสลิมจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในเดือนรอมฎอนเทียบกับเดือนอื่นคืองดการกินการดื่มในช่วงมีแสงของวัน รอมฎอนจึงเป็นเรื่องการเปลี่ยนความเคยชินด้านการกินอาหารเพียงเท่านั้น ความเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องเพียงบางส่วน ยังมีอีกอย่างน้อยสองเรื่องที่ไม่ได้นำมาคำนวณ นั่นคือเรื่องการนอนการตื่น (Sleep-wake) และเรื่องกิจกรรมทางกายในช่วงเดือนรอมฎอนวันเร็วขึ้น 11 วันต่อปี ประเทศที่อยู่เหนือหรือใต้เส้นศูนย์สูตรมากๆ ฤดูกาลในรอมฎอนเปลี่ยนแปลงไปทุกเก้าปี งานวิจัยจำนวนมากจึงพบผลกระทบต่อวงจรการนอนการตื่นของผู้ปฏิบัติถือศีลอดงานวิจัยบางส่วนยังพบด้วยว่าการบริโภคอาหารมื้อใหญ่ช่วงดึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใกล้เวลานอนกระทบกระบวนการย่อยอาหาร ผู้ปฏิบัติจึงออกอาการง่วงเหงาเวลากลางวัน งานวิจัยจำนวนหนึ่งพบด้วยว่าภาวะหลับในเวลาเรียนและทำงานเกิดมากขึ้นเป็นสองเท่า ทั้งนี้ขึ้นกับว่ารอมฎอนตรงกับช่วงเวลาไหนของปี ฤดูร้อนหรือฤดูหนาวเนื่องจากความยาวของกลางวันและกลางคืนเปลี่ยนแปลงไปมากรอมฎอนกระทบแนวทางการใช้ชีวิตประจำวันของมุสลิมในสามเรื่องอย่างที่บอก คือด้านการกินการดื่มเนื่องจากต้องอดตลอดทั้งวัน ด้านการนอนการตื่น เนื่องจากมีเวลานอนน้อยลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเตรียมอาหารมื้อสุฮูรก่อนเช้า ด้านกิจกรรมทางกายเนื่องจากการละหมาดกิยามุลลัยหรือละหมาดยามค่ำคืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการละหมาดตะรอเวียะฮฺทำให้ใช้พลังงานมากขึ้นตั้งแต่ 55-115 กิโลแคลอรี การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้กระทบการใช้ชีวิตประจำวันในเดือนรอมฎอน งานวิจัยในหลายประเทศยืนยันอย่างนั้น มุสลิมหลายประเทศเลือกวิธีชดเชยโดยทำงานกลางวันน้อยลง ทั้งด้านเวลาและปริมาณงาน ปัญหาเช่นนี้ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) สร้างแนวทางแก้ไขไว้แล้ว ซึ่งคนยุคใหม่อาจลืมเลือนไปท่านนบีหลังบริโภคมื้อละศีลอดหรืออิฟตารแล้วท่านไม่บริโภคมื้อดึก อีกทั้งท่านบริโภคแต่น้อย ท่านจึงไม่ประสบปัญหาการย่อยอาหารที่เหลือค้างในกระเพาะมาจากคืนก่อน ท่านช่วยภรรยาเตรียมอาหารสุฮูรแล้วไม่กลับไปนอนอีก กลางวันยังทำงานตามปกติไม่ลดงานลง ความเหน็ดเหนื่อยเหล่านั้นท่านชดเชยด้วยการงีบระยะสั้นๆ 15-20 นาทีช่วงกลางวันที่เรียกว่า “ฆอยลูละฮฺ”( قَيْلُولَة Qailulah) ซึ่งท่านปฏิบัติอยู่บ่อยครั้งจนเป็นพฤติกรรมปกติ งานวิจัยทางการแพทย์พบว่าฆอยลูละฮฺหรือที่เรียกว่าซิสต้า (Siesta) ในยุโรป ช่วยลดปัญหาอ่อนเพลียยามกลางวันเดือนรอมฎอนได้ พวกเราลองนำไปปฏิบัติกันดู #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #ฆอยลูละฮฺ, #ถือศีลอดเดือนรอมฎอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *