เนื้อปิ้งย่างกับมะเร็ง

ช่วงการระบาดของโควิด-19 ปัญหาของโรคอื่นๆมักถูกมองข้าม ไม่ว่าจะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคไต มะเร็ง และอีกหลายโรค โรคเหล่านี้คร่าชีวิตคนไทยในแต่ละปีมากกว่าโควิด-19 หลายเท่า ยังไม่ได้หายไปไหน จำเป็นต้องระวังกันหน่อย ครั้งนี้ลองดูเรื่องเนื้อปิ้งย่างกับมะเร็งกันหน่อย อาหารปิ้งย่างด้วยไฟและความร้อนอย่าง สเต้ก บาร์บีคิว เกอบับ เบอร์เกอร์ ย่างเนย ปิ้งเนย ย่างเกาหลี ย่างมองโกล ได้รับความนิยมในบ้านเรามากขึ้น ช่วงทศวรรษที่ 2010 มีงานจากมหาวิทยาลัย Vanderbilt และ Miinesota สหรัฐอเมริกา ทั้งอีกหลายสถาบันสรุปออกมาว่าเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว หมู ไก่ นก มีไขมันเป็นองค์ประกอบ ความร้อนสูงทั้งโดยตรงจากไฟหรือภาชนะก่อให้เกิดปฏิกิริยาสร้างสารเคมีที่เรียกว่า HeteroCyclic Amines (HCAs), Heterocyclic Aromatic Amines (HAAs), Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) สารเคมีเหล่านี้ แม้อาจไม่มากนักสำหรับไก่ ปลา ล้วนก่อปัญหามะเร็งได้ทั้งนั้น โดยทำปฏิกิริยากับเอนไซม์เกิดเป็นสารอนุพันธุ์ที่ทำลายดีเอ็นเอในเซลล์ร่างกาย ก่อมะเร็งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของบรรดาเนื้อปรุงประเภทแฮม เบคอน ไส้กรอก ซาลามิ แหนม ไส้อั่ว ที่มีการเติมสารเคมี เกลือ ฯลฯ หากบริโภคมากเกินไปอาจก่อมะเร็งได้เช่นกัน นักวิจัยด้านโภชนาการการแพทย์เตือนกันไว้อย่างนั้นวันเวลาผ่านมาเป็นสิบปี งานวิจัยยุคหลังเตือนกันอย่างไร ผู้อำนวยการวิจัยด้านมะเร็งจาก Cedars-Sinai Medical Center ในลอสแองเจลิส สรุปเมื่อเร็วๆนี้ว่า อาหารข้างต้นเมื่อเจอความร้อนสูง เกิดปฏิกิริยาสร้างสารเคมีเหล่านั้นขึ้นจริง การบริโภคต้องระวังเรื่องปริมาณสักหน่อย ร่างกายมีระบบกำจัดสารพิษแต่อย่าให้ระบบทำงานเกินกำลัง ดังนั้น ไม่แนะนำให้บริโภคเกิน 2-3 มื้อต่อสัปดาห์ ไม่ควรปิ้งย่างจนสุกมากเกินไป หรือกระทั่งไหม้ หัวใจสำคัญคืออย่าบริโภคในปริมาณมากและบ่อยครั้ง ทำได้เท่านี้ก็ปลอดภัยแล้ว อ้างอิงจากนิตยสาร Time ตามภาพ #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #เนื้อปิ้งย่างกับมะเร็ง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *