คนยุคใหม่แทบไม่มีใครที่คิดว่าการเคี้ยวอาหารจะช่วยลดน้ำหนักตัวที่กำลังเป็นปัญหาได้ แต่คนยุคเก่ารู้เรื่องนี้มานานพอควรแล้ว ประมาณทศวรรษที่ 1900 อังกฤษอยู่ในยุคที่เรียกว่าเอ็ดเวอร์เดียน (Edwerdian) ทั้งการแต่งกายและการกินเป็นแบบเอ็ดเวิร์ด ว่ากันว่าหากอยากมีรูปทรงองค์เอวที่ดีให้กินอาหารช้า ๆ เคี้ยวให้ได้ 32 ครั้งก่อนกลืน เป็นไปตามคำแนะนำของนักวิชาการที่ชื่อโฮเลช เฟลชเชอร์ (Holace Fletcher) เข้าใจเอาว่าการเคี้ยวช้าช่วยให้อัตราการกินช้าลง ร่างกายได้พลังงานน้อยลง เคล็ดลับอยู่ตรงนั้นรู้กันอยู่แล้วว่าการกินเร็วทำให้อ้วนเร็ว การกินช้าช่วยคุมน้ำหนักตัวได้ดี คำแนะนำในการกินช้าคือให้นับจำนวนครั้งของการเคี้ยว 28 ครั้งก่อนกลืนบ้าง 32 ครั้งก่อนกลืนบ้าง บางวัฒนธรรมอาจลากยาวไปถึง 50 ครั้ง การเพ่งสมาธิอยู่กับการนับจำนวนการเคี้ยวช่วยให้ผู้เคี้ยวไม่เร่งรีบในการกินอาหาร การกินอาหารเร็ว ใส่ปากแล้วเคี้ยวนิดหน่อยจึงกลืน แล้วตามด้วยคำใหม่ กินคล้ายเร่งรีบอย่างนั้นคือหนึ่งสาเหตุของความอ้วน ทั้งอิ่มแล้วยังไม่ยอมหยุดเรื่องของการเคี้ยวช้า ๆ จึงกลายเป็นสูตรสำเร็จในการลดน้ำหนักตัวที่เริ่มนำกลับมาคุยกันอีกครั้งในยุคหลังการเคี้ยวช้า ทำให้ไม่กินเร็ว ช่วยลดปริมาณแคลอรีที่ร่างกายได้รับนั่นก็เหตุผลหนึ่งที่ใช้อธิบายประโยชน์ของการเคี้ยวช้า แต่เหตุผลเบื้องหลังจริง ๆ คืออะไร แทบไม่มีใครศึกษา เป็นอย่างนี้เองทำให้สองด็อกเตอร์สาวแห่งสาขาโภชนาการ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ญี่ปุ่น Yuka Hamada และ Naoyuki Hayashi นำเรื่องนี้มาศึกษาในทางการแพทย์ ผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ Scientific Reports ปลายปี 2021 ที่ผ่านมานี้เองโดยสรุปคือการเคี้ยวช้า ๆ (Slow Chewing) ช่วยเพิ่มค่าความร้อนที่ได้จากอาหาร แทนที่จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานที่นำมาสะสม พลังงานกลับถูกนำไปสร้างเป็นความร้อน เรียกกันว่า DIT หรือ Diet-induced thermogenesis เป็นผลจากร่างกายใช้พลังงานจากการเคี้ยวมากขึ้น ทั้งยังทำให้การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร รวมถึงการไหลเวียนเลือดในทางเดินอาหารเพิ่มสูงขึ้น การย่อยและดูดซึมอาหารมีมากขึ้น ร่างกายจึงอิ่มเร็ว การเคี้ยวช้าจนเป็นนิสัย จึงช่วยลดน้ำหนักตัวทีละน้อย ความเร็วในการกินอาหารลดลง ปริมาณอาหารที่เข้าสู่ร่างกายลดลงการเคี้ยวช้าช่วยลดปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับ วันหนึ่งมื้อหนึ่งอาจไม่มาก แต่ลองคิดรวมพลังงานที่ลดลงเป็นรายเดือนรายปี ย่อมหมายถึงน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมที่หายไป เมื่อรู้ข้อดีของการเคี้ยวช้า ๆ อย่างนี้แล้ว ขอให้เริ่มปฏิบัติกันเสียแต่วันนี้ อย่ารีรอที่จะปฏิบัติเลย เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #chewing, #เคี้ยวช้า