นับวันงานวิจัยทางการแพทย์ยิ่งออกมายืนยันว่าการอดอาหารช่วยยืดอายุขัยให้ยืนยาวขึ้น การอดอาหารอย่างเข้มงวด (Caloric Restriction, CR) ช่วยยืดอายุขัยในสัตว์ทดลองซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ชั้นต่ำ ทว่าเมื่อแปลงผลการทดลองสู่มนุษย์ พบว่าการอดอาหารที่ว่านั้นต้องลดพลังงานมากถึง 60% (800 Cal) ซึ่งอาจก่อปัญหาทุพโภชนาการส่งผลให้ภูมิต้านทานลดลง เสี่ยงต่อโรคมากขึ้น กลายเป็นการบั่นทอนอายุขัย เหตุนี้จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ความลับในศาสตร์การกินและการอดให้ได้หากต้องการมีอายุขัยยืนยาวขึ้นแทนที่จะอดอาหารแบบเข้มงวดเช่นที่ทำในสัตว์ทดลอง นักวิจัยพบว่าการอดอาหารในระดับไม่สูงนัก เช่น การอดแบบไม่ต่อเนื่อง Intermittent Fasting (ไอเอฟ) ให้ผลเชิงบวกในมนุษย์ ช่วยยืดอายุขัยโดยผ่านหลายกลไก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อยืนยันว่าจะต้องอดในสัดส่วนพลังงานเท่าใด การอดอาหารแบบอิสลามในเดือนรอมฎอนนับเป็นไอเอฟแบบหนึ่ง ทว่าหลายรายงานยังไม่พบผลดีต่ออายุขัย เนื่องจากผู้ปฏิบัติไม่ลดพลังงานที่ได้รับต่อวันลง นักวิจัยพบว่าไอเอฟแบบอิสลามหากจะให้ได้ผลต่อการมีสุขภาวะที่ดี ยืดอายุขัย ต้องทำไอเอฟแบบสุนนะฮฺ (Sunnah) เช่นที่ปฏิบัติกันในหมู่ชนชาวเบดูอินในทะเลทรายนั่นคือลดการบริโภคลงโดยยังคงทำงานเป็นปกติกลไกที่อธิบายว่าการอดอาหารช่วยยืดอายุขัย ได้แก่ (1) การอดอาหารแบบไอเอฟช่วยเร่งปฏิกิริยาการกินตัวเอง (Autophagy) ของเซลล์ โดยพบว่าการอดอาหารอย่างต่อเนื่อง 2-3 วัน ทำให้ร่างกายขาดพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคาร์โบไฮเดรต การทำงานของฮอร์โมน เอนไซม์ ปรับตัว เซลล์เริ่มกลไกการทำความสะอาดตนเอง สิ่งปฏิกูลภายในเซลล์ถูกกำจัด เซลล์ลดการแบ่งตัว เทโลเมียร์ (Telomeres) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอปลายสายโครโมโซมและเป็นตัวกำหนดอายุขัยหดตัวสั้นช้าลง อายุขัยจึงยืนยาวขึ้น (2) ประสิทธิภาพของอินสุลินเพิ่มขึ้น หลั่งอินสุลินน้อยลง ความดันโลหิตลดลง ความเสี่ยงต่อเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง (3) การทำงานของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้น ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น ภาวะอักเสบในร่างกายลดลง (4) การสะสมไขมันบริเวณต่อมไธมัสลดลง ประสิทธิภาพในการสร้าง T cells เพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานสูงขึ้น กลไกการสร้างภาวะอักเสบภายในเซลล์และอวัยวะลดลง บทสรุปคือหากต้องการให้อายุขัยยืนยาวขึ้นจำเป็นต้องเรียนรู้ศิลปะการกินและการอด จดจำให้ได้ว่าการกินมากลดอายุขัย อดมากไปก็เป็นปัญหา การกินพอดี อดพอดีจึงช่วยยืดอายุขัยได้ เป็นศิลปะที่ต้องเรียนรู้ควบคู่วิทยาศาสตร์ ง่ายๆอย่างนั้น #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #ศาสตร์การกินการอดเพื่อยืดอายุขัย
นับวันงานวิจัยทางการแพทย์ยิ่งออกมายืนยันว่าการอดอาหารช่วยยืดอายุขัยให้ยืนยาวขึ้น การอดอาหารอย่างเข้มงวด (Caloric Restriction, CR) ช่วยยืดอายุขัยในสัตว์ทดลองซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ชั้นต่ำ ทว่าเมื่อแปลงผลการทดลองสู่มนุษย์ พบว่าการอดอาหารที่ว่านั้นต้องลดพลังงานมากถึง 60% (800 Cal) ซึ่งอาจก่อปัญหาทุพโภชนาการส่งผลให้ภูมิต้านทานลดลง เสี่ยงต่อโรคมากขึ้น กลายเป็นการบั่นทอนอายุขัย เหตุนี้จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ความลับในศาสตร์การกินและการอดให้ได้หากต้องการมีอายุขัยยืนยาวขึ้นแทนที่จะอดอาหารแบบเข้มงวดเช่นที่ทำในสัตว์ทดลอง นักวิจัยพบว่าการอดอาหารในระดับไม่สูงนัก เช่น การอดแบบไม่ต่อเนื่อง Intermittent Fasting (ไอเอฟ) ให้ผลเชิงบวกในมนุษย์ ช่วยยืดอายุขัยโดยผ่านหลายกลไก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อยืนยันว่าจะต้องอดในสัดส่วนพลังงานเท่าใด การอดอาหารแบบอิสลามในเดือนรอมฎอนนับเป็นไอเอฟแบบหนึ่ง ทว่าหลายรายงานยังไม่พบผลดีต่ออายุขัย เนื่องจากผู้ปฏิบัติไม่ลดพลังงานที่ได้รับต่อวันลง นักวิจัยพบว่าไอเอฟแบบอิสลามหากจะให้ได้ผลต่อการมีสุขภาวะที่ดี ยืดอายุขัย ต้องทำไอเอฟแบบสุนนะฮฺ (Sunnah) เช่นที่ปฏิบัติกันในหมู่ชนชาวเบดูอินในทะเลทรายนั่นคือลดการบริโภคลงโดยยังคงทำงานเป็นปกติกลไกที่อธิบายว่าการอดอาหารช่วยยืดอายุขัย ได้แก่ (1) การอดอาหารแบบไอเอฟช่วยเร่งปฏิกิริยาการกินตัวเอง (Autophagy) ของเซลล์ โดยพบว่าการอดอาหารอย่างต่อเนื่อง 2-3 วัน ทำให้ร่างกายขาดพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคาร์โบไฮเดรต การทำงานของฮอร์โมน เอนไซม์ ปรับตัว เซลล์เริ่มกลไกการทำความสะอาดตนเอง สิ่งปฏิกูลภายในเซลล์ถูกกำจัด เซลล์ลดการแบ่งตัว เทโลเมียร์ (Telomeres) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอปลายสายโครโมโซมและเป็นตัวกำหนดอายุขัยหดตัวสั้นช้าลง อายุขัยจึงยืนยาวขึ้น (2) ประสิทธิภาพของอินสุลินเพิ่มขึ้น หลั่งอินสุลินน้อยลง ความดันโลหิตลดลง ความเสี่ยงต่อเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง (3) การทำงานของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้น ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น ภาวะอักเสบในร่างกายลดลง (4) การสะสมไขมันบริเวณต่อมไธมัสลดลง ประสิทธิภาพในการสร้าง T cells เพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานสูงขึ้น กลไกการสร้างภาวะอักเสบภายในเซลล์และอวัยวะลดลง บทสรุปคือหากต้องการให้อายุขัยยืนยาวขึ้นจำเป็นต้องเรียนรู้ศิลปะการกินและการอด จดจำให้ได้ว่าการกินมากลดอายุขัย อดมากไปก็เป็นปัญหา การกินพอดี อดพอดีจึงช่วยยืดอายุขัยได้ เป็นศิลปะที่ต้องเรียนรู้ควบคู่วิทยาศาสตร์ ง่ายๆอย่างนั้น #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #ศาสตร์การกินการอดเพื่อยืดอายุขัย