รัฐลงมาปกป้องผู้บริโภคกรณีเนื้อวัวปลอมแล้ว

เรื่องราวการหลอกลวงผู้บริโภคด้วยการนำเนื้อหมูราคาถูกมาย้อมสีหรือเลือดวัวหรือด้วยวิธีการอื่นเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคว่าเป็นเนื้อวัวขายด้วยราคาแพง ไม่ได้สร้างปัญหาเฉพาะผู้บริโภคมุสลิมจำนวนกว่า 4 ล้านคนที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยเท่านั้นทว่ายังหลอกลวงผู้บริโภคที่มิใช่มุสลิมที่นิยมบริโภคเนื้อวัวที่มีจำนวนเกินสิบล้านคนทั่วประเทศพร้อมกันไปด้วย การหลอกลวงเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2561 ทางการเข้ามาแก้ปัญหาแล้วแต่ไม่หมดสิ้นลุกลามเข้ามาในสังคมมุสลิมตั้งแต่ต้น พ.ศ.2563 ที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวรุนแรงมากขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ผู้บริโภคนิยมสั่งซื้อสินค้าจากออนไลน์และจากพ่อค้าเนื้อเร่ตามชุมชนมากขึ้น ผู้บริโภคมุสลิมที่การบริโภคเนื้อหมูกระทบต่อศรัทธาในศาสนาอย่างรุนแรง เรียกร้องให้ราชการทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคตามหน้าที่ที่มีอยู่ มิใช่ปล่อยให้ผู้บริโภคมุสลิมเผชิญปัญหาเพียงลำพัง ในขณะที่องค์กรศาสนาอิสลามไม่ว่าจะเป็นสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย (ส.กอท.) สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (ส.กอจ.) สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (ส.กอม) ไม่มีอำนาจหน้าที่ทางกฎหมาย อีกทั้งขาดเครื่องมือเครื่องไม้และปัจจัยในการดำเนินการ ในฐานะที่ประเทศไทยปกครองด้วยกฎหมาย รัฐไม่สามารถปฏิเสธหน้าที่รับผิดชอบที่มีต่อทุกข์สุขและผลประโยชน์ของประชาชนได้ จำเป็นต้องลงมาดำเนินการ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐและนานาอารยประเทศต่อประเทศไทยถึงเวลานี้ รัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กกส) ในฐานะที่ดูแลกรมปศุสัตว์ได้เอื้อมมือลงมาบริหารจัดการปัญหาแล้ว โดย กกส. ปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดกับผู้แทนฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประธานสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทยและผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะนักวิจัย กรรมการสมาคมนักธุรกิจไทยมุสลิม กระทั่งได้ข้อสรุป วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม 2563 ทุกฝ่ายประชุมร่วมกันพร้อมหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาวให้ได้ผลจิรัง เพื่อผู้บริโภคเนื้อวัวทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิมไม่ต้องหวาดผวากับการถูกหลอกลวงให้บริโภคเนื้อหมูหรือสุกรอีกต่อไป รายละเอียดของข่าวเป็นไปตามที่มีรายงานข้างล่างนี้“เกษตรฯ”ชูธง อาหารปลอดภัย ระดมพล10 พันธมิตรลุย 5 มาตรการแก้ปัญหาเนื้อวัวปลอมระบาด หวั่นกระทบผู้บริโภคอาหารฮาลาล ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะส่งออกอาหารกลุ่มประเทศมุสลิม 2,000 ล้านคนhttps://www.komchadluek.net/news/agricultural/438873

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *