ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 7

ตอนที่แล้วเขียนถึง “#เซียงหนู” (#Xiongnu) หรือซงหนูซึ่งเป็นเติร์กเผ่าหนึ่ง ในตอนนี้ขอกล่าวถึงเติร์กโบราณอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “ฮั่น” (Huns) ภาษาอังกฤษสะกดด้วย U คนจีนเรียกชนกลุ่มนี้ว่าเซียงหนู ชนโบราณทั้งสองกลุ่มจึงเป็นชนกลุ่มเดียวกัน ยังมีชนอีกกลุ่มหนึ่งในภาษาจีนเรียกว่า “ฮัน” หรือ “หัน” (Hans) ภาษาอังกฤษสะกดด้วย A หมายถึงคนจีนส่วนใหญ่ที่พบในประเทศจีนและทั่วโลกเวลานี้ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงชนฮั่น (Huns) กับฮัน (Hans) ขออย่าสับสนกับชื่อ ฮั่นที่หมายถึงชนเซียงหนูหรือเติร์กโบราณเป็นที่รู้จักกันในอดีตเนิ่นนานหลายพันปีมาแล้ว ในวันนี้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ แปลงสภาพเป็นชนเติร์กไปจนหมดจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ฮั่นกับเซียงหนูคือ #เติร์ก (#Turk) ไม่ใช่มองโกล โดยทั้งเติร์กและมองโกลต่างร่อนเร่เลี้ยงปศุสัตว์อยู่ในทุ่งหญ้าสเต็ปป์ (Stepp) ในคริสต์ศตวรรษที่ 13-14 ชนมองโกลสร้างจักรวรรดิใหญ่โตชนิดที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน ขณะที่ชนเติร์กสร้างจักรวรรดิขนาดเล็กกว่ามากในเวลาก่อนหน้านั้น ได้แก่ จักรวรรดิเซียงหนูช่วง 2-3 ศตวรรษก่อนคริสตกาลกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 1 และสร้างจักรวรรดิฮั่นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5-6 หนึ่งในจักรพรรดิที่มีชื่อเสียงที่สุดของชนฮั่นคือ #อัตติลา (#Attila) ปกครองยุโรปช่วง ค.ศ.434-453 ทั้งเชียงหนู ฮั่น หรือแม้กระทั่งมองโกล ล้วนสร้างจักรวรรดิอายุสั้น อันเป็นผลมาจากความเป็นชนเร่ร่อนที่เลี้ยงชีวิตด้วยปศุสัตว์ ไม่ได้สร้างอารยธรรมการเมืองการปกครองเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อเข้ายึดครองดินแดนใด สิ่งที่ทำคือปล้นทำลายริบทรัพย์และพึงใจอยู่กับบรรณาการของผู้ยอมสยบ บริหารจัดการบ้านเมืองไม่เป็น สุดท้ายจักรวรรดิที่ตั้งขึ้นก็ล่มสลาย ต้องกลับไปเป็นชนเร่ร่อนเหมือนเดิมเติร์กกับมองโกลต่างมีพัฒนาการมาจากรากเดียวกัน ดูจากปัจจุบันย้อนกลับไปหาอดีต ต่างฝ่ายต่างสร้างประเทศสมัยใหม่ให้กับกลุ่มชนตนเองคือ #มองโกเลีย ของชนมองโกลเทียบกับ #ตุรกี กับอีก 6 ประเทศของชนเติร์ก เห็นว่าชนเติร์กพัฒนาสังคมได้โดดเด่นกว่า เรียนรู้เร็วกว่า ยืดหยุ่นไปกับสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า ชนเติร์กในเอเชียกลางซึมซับอารยธรรมของกรีกและเปอร์เซียไว้มาก เมื่อเปอร์เซียเข้ารับอิสลาม ชนเติร์กในเอเชียกลางเปลี่ยนเป็นมุสลิมเช่นเดียวกัน เติร์กที่เป็นมุสลิมเมื่อใช้ความเป็นนักรบสร้าง #จักรวรรดิเซลจุก (#Seljuk) (ค.ศ.1037-1194) รับเอาทักษะการบริหารจัดการบ้านเมืองจากเปอร์เซียและอาหรับกระทั่งสร้างจักรวรรดิได้เป็นเรื่องเป็นราว เมื่อยกระดับขึ้นเป็น #อุสมานียะฮฺ หรือ #ออตโตมัน (#Ottoman) (ค.ศ.1299-1923) ความเชี่ยวชาญทับทวีขึ้นกระทั่งสามารถสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ยืนยาวนานหลายศตวรรษได้สำเร็จ ความสำเร็จของชนเติร์กเห็นทีต้องขอบคุณเปอร์เซีย เมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีกรวมถึง #อาหรับ ที่สำคัญคือ #อิสลาม ซึ่งสอนให้ท้วงติง (ตะฮฺฆีฆ) คิดวิเคราะห์ (ตะฟักกูร) ขยันหมั่นเพียรเรียนรู้อย่างไม่จบสิ้น (อิจติฮัด) รวมทั้งต้องขอบคุณบรรพบุรุษคือเซียงหนูและฮั่นตลอดจนเพื่อนบ้านใกล้เคียงคือมองโกลที่ทิ้งบทเรียนความล้มเหลวไว้ให้ อย่างที่รู้กันคือความล้มเหลวกลับเป็นบทเรียนที่สร้างความสำเร็จได้ดีกว่า ดูจากชนชาวเติร์กเปรียบเทียบระหว่างเซียงหนูกับอุสมานียะฮฺก็คงเห็นได้แจ่มแจ้ง #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *