คุณภาพนักเรียนมัธยมอินโดนีเซียสะท้อนภาพอนาคตประเทศอินโดนีเซีย

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565เวลา 08:30 – 11:30 ครู 8 คนพร้อมนักเรียนมัธยมปลายจำนวน 26 คน ของโรงเรียนนานาชาติ Dea Malela Modern International Islamic Boarding School ประเทศอินโดนีเซีย เดินทางมาเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท โดยมีผมร่วมกับดร.นัจวา ยานยา สันติวรกุล ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ นางสาวซูไนนี มาหะมะ และทีมงานให้การต้อนรับ มีเรื่องน่าประทับใจอยากเล่าให้ฟังโรงเรียนดังกล่าวเป็นโรงเรียนปอเนาะนานาชาติใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก สอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนาอิสลาม นักเรียนอยู่ประจำ โรงเรียนตั้งอยู่บนเกาะ Sumbawa เลยเกาะ Bali และ Lombok ไปทางตะวันออก โดยอยู่ในเขต Sumbawa Regency จังหวัด West Nusa Tenggara จังหวัดนี้คือ 1 ใน 37 จังหวัดของอินโดนีเซียมีประชากร 5.5 ล้านคน ลองมองไปที่อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศหมู่เกาะ 17,500 เกาะ ประชากรวันนี้ 277 ล้านคน มี GDP 1.186 ล้าน USD ใหญ่ที่สุดในอาเซียน GDP เติบโตเร็วที่สุดได้คุยกับเด็กนักเรียนมัธยมของอินโดนีเซียจากโรงเรียนที่อยู่บนเกาะห่างไกลเมืองหลวง ทั้งโรงเรียนยังอยู่ห่างจากเมืองหลัก เห็นคุณภาพการซักถาม การอภิปรายปัญหา สำเนียงภาษาอังกฤษ มั่นใจเลยว่านับจากนี้อีกไม่นาน อินโดนีเซียด้วยทรัพยากรมนุษย์จำนวนมหาศาล การขยายตัวของประชากรอยู่ในระดับสูง อุตสาหกรรมและการค้าเติบโตรวดเร็ว ทั้งคุณภาพการศึกษาสูงขึ้นในทุกระดับ คนไทยอย่าไปห่วงเวียตนามจะมีเศรษฐกิจแซงประเทศไทยเลย ขอให้จับตาที่อินโดนีเซียนี่แหละน่าสนใจคือเด็กนักเรียนมัธยมจากเกาะห่างไกลเดินทางมาทัศนศึกษาึงประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงานเพื่อนำองค์ความรู้จากงานพันธกิจและงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ไปเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในอนาคตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดีใจตรงที่ผู้บริหารโรงเรียนมองศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลเป็นโมเดลในการยกระดับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศอินโดนีเซียเจ้าของโรงเรียนคือ Professor Dr.Din Syamsuddin อดีตประธาน Muhammadiyah ซึ่งเป็นองค์กรอิสลามที่ใหญ่และมีฐานะการเงินดีที่สุดในโลกด้วยจำนวนสมาชิก 50 ล้านคน Dr.Din เขียนจดหมายถึงผมว่าอยากให้ผมได้พบและพูดคุยกับนักเรียนเหล่านี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ เมื่อได้พบกลับเป็นนักเรียนเหล่านี้สร้างความประทับใจให้กับผม เด็กแย่งกันถาม เป็นต้นว่าทำไมผมเลือกเรียนวิทยาศาสตร์ ทำไมผมสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลในประเทศไทยไม่ไปสร้างในอินโดนีเซีย ทำไมต้องใช้ PCR, FTIR ในการวิเคราะห์ชนิดของสัตว์ ฯลฯ ดีใจที่นักเรียนพอใจกับคำตอบ #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #dinsyamsuddin, #deamalela, #ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *