ครองสื่อได้ก็ครองสติปัญญา

ผมเป็นคนรักหนังสือหัวปักหัวปำ รักอย่างนี้มาตั้งแต่เด็ก จำได้ว่าเมื่อครั้งเด็กมากๆ คุณพ่อเอร์ฟาน ดะห์ลัน พาผมพร้อมน้องสาวเดินจากบ้านผ่านชุมชนมัสยิดยะวาแถวถนนสาทร ออกมาที่ตลาดบางรัก เดินเรื่อยมาตามถนนเจริญกรุงจนถึงร้านหนังสือใกล้อาคารใหญ่ไปรษณีย์กลางระยะทางมากกว่าหนึ่งกิโลเมตร ร้านหนังสือนี้มีนิตยสารรายเดือนเล่มเล็กขนาด 16 หน้ายกภาษาอังกฤษวางขายอยู่ชื่อนิตยสาร Reader’s Digestเดินจากบ้านมาไกลขนาดนี้เพียงเพื่อซื้อหนังสือนิตยสารรายเดือนเล่มเดียว คุณพ่อคงรู้ว่าเด็กขนาดผมคงสับสน ท่านจึงอธิบายในสิ่งที่ถึงวันนี้ผมไม่เคยลืม ท่านบอกว่าเจ้าของหนังสือเล่มนี้เป็นคนยิว ตั้งใจทำหนังสือเพื่อให้คนอ่านได้รับความรู้ในเนื้อหาง่ายๆ ท่านบอกต่ออีกว่า โลกตะวันตกให้ความสำคัญกับการเรียนสาขาวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นว่าหากครอบครองวิทยาศาสตร์ได้ก็ครอบครองเทคโนโลยีในโลกได้ โลกตะวันตกจึงโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์ทำให้พวกเขาเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี แต่สังคมยิวให้ความสำคัญกับการอ่านมากกว่า หนังสือจึงเป็นหัวใจของสังคมยิว อยากรู้ว่าคนยิวคิดอะไรให้อ่านหนังสือของพวกเขา ยุคนั้นไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีดิจิตอลเทคโนโลยี มีแต่หนังสือธรรมดา รายเดือน รายสัปดาห์ รายวันวางจำหน่าย ทำหน้าที่เป็นเสมือนสื่อสารมวลชนของโลกในวันนั้น คุณพ่อบอกผมว่า “ครองวิทยาศาสตร์ได้ก็ครองเทคโนโลยี ครองสื่อได้ก็ครองสติปัญญา” คนยิวจึงสอนลูกหลานให้อ่านและเขียนหนังสือ รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนกับสื่อ คุณพ่ออธิบายเป็นตุเป็นตะ คงลืมไปว่าผมกับน้องสาวอายุในวันนั้นยังไม่ถึงสิบขวบ ก็แปลกที่ผมฟังแล้วไม่เคยลืมโลกทุกวันนี้มองไปเถอะ สื่อกระดาษ สื่อดิจิตอล สื่อออนไลน์ คนยิวครอบครองจนแทบหมดสิ้น เมื่อครอบครองสื่อใหญ่ในโลกได้ก็ครอบครองสติปัญญาของพลโลกเบ็ดเสร็จ เห็นอิทธิพลของสื่อที่กลายเป็นของยิวแทบทั้งหมดในโลกทุกวันนี้ แล้วทำให้ผมหวนคิดถึงคำพูดของคุณพ่อขึ้นมาตะหงิดๆ #ดรวินัยดะห์ลัน, #drwinaidahlan, #มัสยิดอัลอักซอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *