กินเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

โภชนาการแนวเก่าแนะนำให้กินอาหารเพื่อการมีสุขภาพที่ดี เริ่มต้นด้วยการแบ่งอาหารเป็นห้ากลุ่มคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ต่อมาแบ่งเป็นหกกลุ่มโดยเพิ่มน้ำเข้าไปด้วย ภายหลัง นักโภชนาการ แนวใหม่เพิ่มสารไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) หรือสารเคมีตัวเล็กๆที่พบในพืชผัก เข้าไปอีก สารอาหาร ทั้งหมดนี้เน้นไปที่สุขภาพเป็นหลัก กินเพื่อมีสุขภาพที่ดี เป็นสำคัญ เอาเป็นว่ากินเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้นนักโภชนาการรุ่นหลังมองเรื่องสุขภาพกว้างกว่านักโภชนาการในอดีต สุขภาพไม่ใช่เพียงกายและใจ แต่หมายรวม ถึงสิ่งแวดล้อมด้วย และไม่ใช่เพียงการกินอย่างเดียว กรณีอาหาร จำเป็นต้องพิจารณาถึงการได้มาของอาหาร ชนิดนั้นๆ ด้วย หากการเลี้ยงปศุสัตว์หรือปลูกพืชชนิดนั้นๆส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องพิจารณากัน ให้ลึกซึ้ง ดูจากประโยชน์ของตนเองเพียงอย่างเดียวคงไม่ถูก ต้องรู้ให้ได้ด้วยว่า การได้มาของอาหารชนิดนั้นๆ ก่อปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมหรือสังคมอย่างไร หากการได้มาของข้าวโพด หมายถึงการแผ้วถางป่าธรรมชาติเป็นล้านไร่ ทำให้ภูเขาที่เคยเขียวขจีด้วยพันธุ์ไม้กลาย เป็นภูเขาหัวโล้น นักโภชนาการแนวใหม่ไม่ควรสนับสนุนการบริโภคข้าวโพดหรือผลผลิตจากไร่ที่สร้างปัญหาเช่นนั้น ทั้งไม่ควรอุดหนุนเนื้อจากปศุสัตว์หรือสัตว์ที่เลี้ยงดูจากผลผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ปรากฏว่า แนวคิด แนวปฏิบัติลักษณะนี้ได้รับความนิยมจากสังคมในโลกพัฒนาแล้วมากขึ้นทีมวิจัยด้านอาหารและโภชนาการจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน นำโดย ดร.เคเตอรีนา สไตลีอานู (Katerina S. Stylianou) ทำวิจัยในอาหารกว่า 5,800 ชนิด วิเคราะห์ผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จากนั้นแบ่งอาหารออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มสีแดง หมายถึงอาหารที่ก่อปัญหาต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจึงควรหลีกเลี่ยง สีเหลืองหมายถึง อาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ก่อปัญหาต่อสุขแวดล้อมได้บ้างไม่มากนัก ส่วนสีเขียว หมายถึงอาหาร ที่ก่อประโยชน์ ทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ผลวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food ต้น ค.ศ.2021 นี้เองงานวิจัยน่าสนใจเป็นต้นว่า การกินฮอทด็อกหนึ่งชิ้น ทำให้สุขภาพที่ดีหายไป 36 นาที หากกินถั่วเปลือกแข็ง ประเภทนัท ปริมาณหนึ่งเสิร์ฟ ช่วยให้มีสุขภาพดีเพิ่มขึ้น 26 นาที ตัวอย่างของอาหารในตารางสีแดง เช่น เนื้อที่ผ่านกระบวนการ อย่างเนื้อแฮมเบอร์เกอร์ เนื้อแดงทั้งหมูและวัว แพะแกะ กุ้ง หรือแม้กระทั่ง ผักที่เลี้ยงในกรีนเฮาส์ ใครสนใจเรื่องราวอย่างนี้ ลองไปหาอ่านงานวิจัยชิ้นนี้ก็แล้วกัน #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, # กินเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *