กินปลาทะเลอายุยืน

งานวิจัยทางการแพทย์ประเภทที่ศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่โดยติดตามศึกษากันต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานที่เรียกกันว่า Cohort study มักให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ งานวิจัยประเภทนี้จึงมักได้รับการอ้างอิงสูง งานประเภท Cohort study ที่โด่งดังที่สุดเห็นจะเป็นงานที่เรียกว่า Flamingham study (FS) ซึ่งติดตามศึกษาในประชากรฟลามิงแฮมในรัฐแมสสาชูเส็ตต์ของสหรัฐอเมริกาเป็นสถานีศึกษา ใช้คนนับจำนวนแสน ติดตามศึกษากันนาน 30 ปี โดยเริ่มศึกษากันมาตั้งแต่ ค.ศ.1971 หรือแม้กระทั่งก่อนหน้านั้น จนถึงวันนี้ยังติดตามศึกษากันในเรื่องต่างๆสารพัดเรื่อง ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย เรื่องที่จะเขียนถึงเป็นส่วนหนึ่งของ FS เหมือนกันแต่เป็นการศึกษาในรุ่นลูกรุ่นหลานเรียกว่า Flamingham Offspring Study (FOS) ติดตามศึกษานาน 11 ปีเฉพาะประชากรอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปจำนวน 2,240 คน เปรียบเทียบภาวะกรดไขมันบนผนังเซลล์เม็ดเลือดแดง รู้กันอยู่ว่าคนเราหากบริโภคปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้าสามปริมาณมากไปนานๆ กรดไขมันกลุ่มนี้จะไปสะสมอยู่บนผนังเซลล์ต่างๆรวมถึงเม็ดเลือดแดง ปริมาณกรดไขมันโอเมก้าสามบนผนังเซลล์เม็ดเลือดแดงจึงใช้เป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดงได้จากการศึกษาวิจัยของทีมงานจาก Hospital del Mar Medical Research Institute (IMIM) ในประเทศสเปนร่วมกับสถาบันวิจัยกรดไขมันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาหลายแห่งโดยใช้ข้อมูลจาก FOS ผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ค.ศ.2021 ได้ผลสรุปว่าการบริโภคปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้าสามสูงอย่างปลาแซลมอน ทูน่า หรือปลาทะเลชนิดอื่น กระทั่งทำให้กรดไขมันโอเมก้าสามบนหนังเม็ดเลือดแดงสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่บริโภคปลาทะเลอย่างมีนัยสำคัญช่วยให้อายุยืนยาวขึ้นได้มากถึง 5 ปี อายุที่ยืนยาวขึ้นเช่นนี้เทียบเท่ากับผู้ที่เลิกสูบบุหรี่อย่างสิ้นเชิงซึ่งช่วยให้อายุยาวขึ้น 4.7 ปี สรุปกันออกมาอย่างนั้นเพื่อกระตุ้นให้คนสเปนเพิ่มการบริโภคปลาทะเลและเลิกบุหรี่ทำนองนั้น #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #ปลาทะเล, #โอเมก้าสาม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *